เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อน

ระวัง #เพลี้ยอ่อนในพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ)

สภาพอากาศในช่วงนี้ฝนตก ความชื้นสูง เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือเพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อน สามารถเข้าทำลายได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทั้งส่วนยอด ใบอ่อน และใบแก่ #ลักษณะอาการ ที่เห็นได้ชัด คือ ส่วนยอด และใบจะหงิกงอ เมื่อจำนวนเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อย ๆ มีสีเหลือง

แนวทางป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน >> #การใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ย เมื่อพบการระบาดใช้สารฆ่าแมลง โพรไทโอฟอส 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

การป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนโดยชีววิธี 1. #การใช้แมลงช้างปีกใส ปล่อยระยะตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เพื่อควบคุมเพลี้ยอ่อน อัตราการใช้ 200 ตัว/ไร่ ควรปลดปล่อยช่วงเช้าหรือเย็น (ช่วงที่มีแสงแดดอ่อน)2. #การใช้เชื้อรากำจัดแมลง การใช้เชื้อราโรคแมลง Metarhizium guizhouense และ เชื้อรา Beauveria bassiana 3. #หมั่นสำรวจแมลงศัตรูพืชภายในแปลงปลูก เพื่อการป้องกันกำจัดได้ทัน ก่อนการระบาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย

ขอบคุณข้อมูลจาก – ดร. ยุวรินทร์ บุญทบ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช- อาจารย์วิวัฒน์ เสือสะอาด ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน- Darren Chan จาก https://agfuse.com– HHelene จาก istockphoto.comphotostockeditor.com