แมลงหางหนีบ

แมลงหางหนีบ เป็นแมลงปากกัด มักซ่อนตัวอยู่ตามซอกดินที่มีเศษใบไม้ สามารถหาเหยื่อ ตามซอกมุมได้ดี เช่น ไข่หรือเหยื่อที่อยู่ภายในลำต้น ดอก หรือผล หรือเหยื่อที่อยู่ตามซอกกาบใบ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ควบคุม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนกออ้อย หนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไข่แมลง ฯลฯ

ลักษณะรูปร่าง ไข่ : เป็นกลุ่ม 20-40 ฟองต่อกลุ่ม ไข่มีรูปร่างกลม สีขาวขุ่น และจะใสและเห็นจุดสีดำ ตรงกลางเมื่อใกล้ฟัก ตัวอ่อน: ส่วนหัวและลำตัวสีดำ ส่วนอกสีน้ำตาลปนดำ มี 6 ขา แพนหางคล้ายคีม สีดำ ไม่มีปีก อายุตัวอ่อนประมาณ 50−60 วัน ตัวเต็มวัย: คล้ายตัวอ่อนแต่มีขนาดโตกว่า สีน้ำตาลถึงสีดำ

ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืชแมลงหางหนีบ ทำลายเหยื่อโดยการใช้แพนหาง ลักษณะคล้ายคีมหนีบตัวเหยื่อ แล้วกัด กินเป็นอาหาร หากเป็นเพลี้ยอ่อนก็จะกัดกินโดยตรง

การนำไปใช้ เมื่อสำรวจพบหนอนศัตรูพืช ปล่อยแมลงหางหนีบ ทั้งตัวอ่อน หรือ ตัวเต็มวัย อัตรา 100 ตัวต่อไร่ ในพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก และในไม้ผลปล่อย 100 ตัวต่อต้น เพื่อควบคุมปริมาณหนอนให้ อยู่ในระดับต่ำ หากพบหนอนปริมาณมาก ปล่อยแมลงหางหนีบ 2,000 ตัวต่อไร่ โดยปล่อยเป็นจุดๆ ให้กระจายทั่วทั้งแปลง

>> หลีกเลี่ยงการปล่อยในช่วงแสงแดดจัด ควรงดพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลงและ ปล่อยซ้ำจนกว่ามวนเพชฌฆาต จะตั้งรกรากได้

สนใจพ่อแม่พันธุ์แมลงหางหนีบ ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรีโทร. 037-210261