รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาย อิทธิ ศิริลัทธยากร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ติดตามสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดไปต่างประเทศ ร่วมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรและผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ พร้อมทั้งได้ประกาศ “SET ZERO” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยสั่งการ กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนภารกิจ มาตรการป้องกันเฝ้าระวัง และจัดการสาร Basic Yellow 2



นายรพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวืชาการเกษตร กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับจังหวัดจันทบุรี ผู้ประกอบการ และกลุ่มเกษตรกร จัด“Big Cleaning” ตั้งแต่ต้นน้ำ จากสวน โรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุ เพื่อทำความสะอาดโรงคัดบรรจุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ และป้องกันการปนเปื้อนซ้ำของสาร Basic Yellow 2 ก่อนเปิดฤดูกาลทุเรียนภาคตะวันออก และมาตรการตรวจสอบติดตามและเฝ้าระวัง การใช้ปัจจัยการผลิต ที่ไม่ถูกต้องจากแปลงของเกษตรกร และสร้างความมั่นใจก่อนเก็บเกี่ยวและจำหน่ายไปยัง โรงคัดบรรจุ (ล้ง) กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 เข้าเก็บตัวอย่างผลผลิตทุเรียนที่ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช พร้อม ติดตาม ชนิดสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตและเก็บตัวอย่างของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตทุเรียนจากสวนดังกล่าว ส่งทดสอบกับห้องปฏิบัติการ ผลการทดสอบคือไม่พบการปนเปื้อนสาร Basic Yellow 2 แต่อย่างใด มาตรการดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการต่อเนื่องมาในพื้นที่ของภาคตะวันออกทั้งจันทบุรีและระยองโดยมอบหมายให้สารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เข้าตรวจ และ เก็บตัวอย่างปัจจัยการผลิตจากร้านค้า จากสวนของเกษตรกรเพื่อตรวจสอบ ติดตามว่ามีการปนเปื้อนหรือมีการใช้สารดังกล่าวหรือไม่ รวมถึงผลผลิตจากแปลงของเกษตรกรด้วย





อย่างไรก็ตามแนวทางหลักการปฏิบัติที่ดีหรือ GAP เป็นหลักพื้นฐานในการผลิตจากแปลงของเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องตามคำแนะนำโดยเฉพาะการเลือกซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นร้านค้าที่รับรองจากกลุ่มการเกษตรและสารเคมีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรโดยใช้ให้เหมาะสมตามคำแนะนำตามหลักการ GAP ซึ่งเป็นพื้นฐานให้มีผลที่ดีมีคุณภาพ
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรให้ความมั่นใจในศักยภาพการตรวจวิเคราะห์ ของห้องปฏิบัติการเอกชน ช่วงผลผลิต ออกมาในปริมาณมาก กระบวนการตั้งแต่การ เก็บตัวอย่าง การทดสอบในห้องปฏิบัติการ จนถึงการรับผลทดสอบ สามารถ รองรับผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรและจีน จำนวน 8 แห่ง และสามารถทดสอบ BY2 แต่ละวัน ประมาณ 820 ตัวอย่างต่อวัน และแต่ละห้องปฏิบัติการสามารถเพิ่มความสามารถในการตรวจได้อีก 2 เท่า ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ Basic Yellow 2 ดังนี้
- บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขากรุงเทพฯ 100 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาฉะเชิงเทรา 100 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่ 50 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสงขลา 150 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสมุทรสาคร 70 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตร แห่งเอเชีย จำกัด (มหาชน)
200 ตัวอย่างต่อวัน - บริษัท เอสจีเอส(ประเทศไทย) จำกัด 100 ตัวอย่างต่อวัน
- บริษัท ยูโรฟินส์ ฟู๊ด เทสติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 50 ตัวอย่างต่อวัน
นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการอื่นมีแผนจะยื่นขอยอมรับความสามารถภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มเติมอีก 4 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย) จำกัด สาขาขอนแก่น 50 ตัวอย่างต่อวัน - บริษัท บูโร เวอริทัส เอคิว แล็บ (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด OMIC
ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าห้องปฏิบัติการไทยสามารถรองรับการทดสอบ BY2 ในผลทุเรียนได้เต็มศักยภาพอย่างแน่นอน โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างและการขนส่งตัวอย่างถึงห้องปฏิบัติการใช้เวลาภายใน 24 ชั่วโมง ห้องปฏิบัติการ ฯ ทดสอบและออกรายงานผลการทดสอบ ใช้เวลา 48 ชั่วโมง รวม 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน





อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้กล่าวย้ำตอนท้ายว่ามาตรการดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในการผลิตทุเรียนคุณภาพจากสวนของเกษตรกรบรพื้นฐานการปฏิบัติตามหลัก GAP โรงคัดบรรจุปฏิบัติตามหลักการ GMP และตรวจรับรองผลทดสอบก่อนการส่งออก ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดหลักสำคัญ ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาตลาดทุเรียนแสนล้านต่อไปได้