1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. กรมวิชาการเกษตร ผลักดัน นโยบาย รมว.เกษตร เกษตรมูลค…

กรมวิชาการเกษตร ผลักดัน นโยบาย รมว.เกษตร เกษตรมูลค่าสูง สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร มีผลสำเร็จงานวิจัยที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้จริง และขยายผลนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนายกระดับการเกษตรของประเทศไทย สู่เกษตรมูลค่าสูง ตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 31 มกราคม 2568 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธาน กล่าวเปิดงาน “ไข่ผำ – วานิลลา : เจาะลึกโอกาสธุรกิจพืชเทรนด์ใหม่” และ ปาฐกถาพิเศษ “ทิศทางพืชมูลค่าสูงและโอกาสของเกษตรไทย” ณ ห้องประชุมอาคารหนังสือพิมพ์ข่าวสด และมี Special Talks: “Renewable ปรับเกษตรไทย สู่เกษตรมูลค่าสูง” โดย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายพีรพันธุ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร มีนโยบายพัฒนาสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคตอย่างยั่งยืนดังนี้

1. ตั้งกองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร (กศก.)

2. ขับเคลื่อนการผลิตพืชคาร์บอนต่ำ

3. มุ่งเน้นการวิจัยพืชมูลค่าสูง เช่น ไม้ผล สมุนไพร เห็ด และผำ

4. พัฒนาพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Gene Editing : GEd)

5. ยกระดับการเกษตรไทยสู่ศูนย์กลางการเกษตร อาหารปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโลก

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า กรมวิชาการเกษตร ได้มองเห็นโอกาสทางการตลาดของสินค้าอาหารสุขภาพ Future Food และ Function Food อย่างชัดเจน โดยมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าอาหารสุขภาพดังนี้

1.ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาสินค้าอาหารแห่งอนาคต (ไข่ผำ ถั่วเหลือง และสมุนไพร) 

2. พัฒนามาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ GAP – พืชอาหาร (มกษ. 9001-2564)

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังยึดนโยบายของ รมว.เกษตร “ตลาดนำการวิจัย”  เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้ก้าวสู่การผลิตพืชมูลค่าสูงเชิงการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชมูลค่าสูงเชิงการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ไข่ผำ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ผ่านการพัฒนาภาคีเครือข่าย และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตร ได้จัดอบรมหลักสูตร “การเพาะเลี้ยงไข่ผำเชิงพาณิชย์ตามมาตรฐาน GAP” จำนวน 8 รุ่น เกษตรกรที่ผ่านการอบรม 400 รายทั่วประเทศไทย ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไข่ผำตามมาตรฐานพืชอาหาร (มกษ. 9001-2564) เพื่อให้ไข่ผำที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและตลาด ซึ่งการอบรมดังกล่าวจะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี และยกระดับการเพาะเลี้ยงไข่ผำให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ และได้มาตรฐานครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และแปรรูปผลิตภัณฑ์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตร มุ่งมั่นเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต กำหนดทิศทางและมูลค่าทางการตลาดของสินค้าเกษตรในอนาคต เพื่อรับมือกับกระแสความต้องการของตลาดโลก ผ่านการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้วย ING Model ได้แก่ ใช้พันธุ์ดี พัฒนาด้วยเทคนิคจีโนม ที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค ทนสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม,  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดแรงงาน เช่น เครื่องจักร โดรน การจัดการน้ำ ปุ๋ยตามวิเคราะห์ดิน และพืช ที่แม่นยำและเหมาะสม ส่งผลดีในการลดใช้สารเคมี  เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เพื่อสู่เกษตรยั่งยืน

Related
แชท
Skip to content