1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อน การพัฒนาการเกษตร ที่สอด…

กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อน การพัฒนาการเกษตร ที่สอดคล้องกับหลัก Climate Smart Agriculture ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Advancing Climate – Smart Agriculture in Thailand”

ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับเชิญจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI) ให้เป็น Keynote speaker ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Advancing Climate – Smart Agriculture in Thailand” จัดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมโครงการในประเทศ และวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตเพื่อส่งเสริมการนำการเกษตรอัจฉริยะด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture : CSA) โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ผู้แทนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น

จากนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในการการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และของกรมวิชาการเกษตร ที่สอดคล้องกับหลัก Climate Smart Agriculture หรือ CSA อาทิ

1) การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือ Gene Editing (Ged) มาใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืช ที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช และให้ผลผลิตต่อไร่สูง, การกระจายพันธุ์ดีไปยังเกษตรกร (High-quality seed), การทำการเกษตรแบบแม่นยำ เพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่เกินความจำเป็น และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร (Precision farming), การให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Mechanization) ผ่านกลไกเกษตรแปลงใหญ่ สถาบันเกษตรกรและผู้ให้บริการทางการเกษตร, การจัดการโรคแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) การวิจัย และพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (R&D)

2) ด้านการปรับตัวของเกษตรกร (Adaptation) ประกอบด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเกษตร (Excellent Center and Knowledge transfer ) เพื่อเป็นแปลงต้นแบบและถ่ายทอดความรู้เกษตรสมัยใหม่ การจัดทำข้อมูล Agri-Map ประกอบการวางแผนผลิตของเกษตรกร, การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation) และการประกันภัยพืชผล (Crop Insurance)  เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ

3) การมีส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกร (mitigation) ประกอบด้วย การเข้าสู่มาตรฐาน GAP และนโยบาย 3Rs เพื่อปลอดการเผาในภาคเกษตร และแก้ไขปัญหา PM2.5 การจัดทำข้อมูล Baseline การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (Baseline GHG emission)  เพื่อนำมาจัดทำเป็นคู่มือการเข้าสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่ ตลาด Carbon credit และ ฉลาก Carbon foot print ดังนั้นมาตรฐานด้านการเกษตรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมเกษตรกร เพื่อให้ได้ green product ภายใต้การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ green loan และ การตลาดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินที่สูงขึ้น green market ให้กับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรจะใช้ แนวทาง หลัก Climate Smart Agriculture เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร สามารถปรับตัวได้ทันกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ได้อย่างเหมาะสม

Related

Powered by WordPress

แชท
Skip to content