เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนสมาคมการประมง 16 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำโดยที่ประชุมได้มีข้อสรุป 9 มาตรการ อาทิเช่น การกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ การผ่อนผันให้ใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการจับปลาหมอคางดำ การสนับสนุนงบประมาณเร่งด่วนในการกำจัด การตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในจังหวัด เป็นต้น
ในโอกาสนี้ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นางวิลาวัลย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมคณะร่วมลงพื้นที่ พร้อมให้ข้อมูลทางวิชาการว่า ปลาหมอคางดำ สามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช การใช้ปลามาหมักเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชสามารถใช้ประโยชน์จากสารต่างๆในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้หลายอย่าง ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ประโยชน์ด้านอินทรียวัตถุ แม้มีธาตุอาหารพืช จะระบุปริมาณได้ไม่แน่นอนต้องขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย การขายต้องทำให้ได้มาตรฐาน ตลอดเวลา น้ำหมักชีวภาพ มุ่งใช้สาร อื่นๆที่อยู่ในน้ำหนักชีวภาพ ไม่มีการขึ้นทะเบียน ห้ามโฆษณาเกี่ยวกับธาตุอาหาร หรือ อินทรียวัตถุ และเข้าร่วมสังเกตการณ์การรับซื้อปลาหมอคางดำ ณ จุดรับซื้อแพนายวิชาญ และชมการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ ณ สมาคมการประมงจังหวัดสมุทรสาคร