1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. ผู้บริหาร คณะทำงานฯ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องในโครง…

ผู้บริหาร คณะทำงานฯ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ ร่วมกันลงพื้นที่ในแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร ในจังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้บริหาร คณะทำงานฯ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ ร่วมกันลงพื้นที่ในแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร ในจังหวัดระยอง เพื่อหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะที่พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร มาขยายผลเพื่อแก้ไขปัญหาความแปรปรวนของภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกทุเรียนหลักในภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตจากโครงการเกษตรอัจฉริยะ กรมวิชาการเกษตร ปี 2566 ซึ่งได้ผลผลิตจากการวิจัยพัฒนา “อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ (Smart Climate Controller)” แก้ไขปัญหาความแปรปรวนภูมิอากาศในสวนทุเรียน อันเกิดจากประสิทธิภาพในการจัดการความชื้นในดิน เนื่องจาก อากาศร้อน น้ำน้อย และขาดน้ำ ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทุเรียนและรายได้ของเกษตรกร

โดยข้อมูลผลผลิตทุเรียนสะสมของภาคตะวันออก ในฤดูกาลผลิต 2567 จากข้อมูลการตรวจรับรอง เพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืช เพื่อการส่งออกทุเรียน โดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร วันที่1 มกราคม ถึง วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 มีจำนวน 20,612 ตู้/ซิปเมนต์ ปริมาณ 321,131.58 ตัน มูลค่า 41,348.52 ล้านบาท ซึ่งผลกระทบของภูมิอากาศมีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพของทุเรียน และทำให้ทุเรียนสุกแก่เร็วกว่าช่วงเวลาที่ได้กำหนดไว้ และคงเหลือผลผลิตหลังช่วงกลางเดือน พฤษภาคม อีกบางส่วนแต่ก็ไม่มาก ซึ่งอาจทำให้ปริมาณผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรลดลง

ผลการติดตามแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP กรณีนางรัฐอรอัญญ์ ชุมบุญยืนยง หมู่ 6 ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ได้รับการรับรอง GAP ทุเรียน 6 ไร่ มะพร้าว 11.25 ไร่ ฝรั่ง 3.25 ไร่ เงาะ 2.50 ไร่ และลำไย 4.50 ไร่

โดยในแปลงทุเรียนของเกษตรกรมีการพัฒนาติดตั้ง “อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ” ร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ จึงมีผลทำให้ทุเรียนในฤดูการผลิต ปี 2567 ภายในสวนมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตปกติ แม้จะมีสภาพภูมิอากาศแปรปรวนเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในภาคตะวันออก เนื่องจากในสวนมีการบริหารจัดการน้ำ ปรับความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบจากความแปรปรวนของภูมิอากาศได้ดี

คณะผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเปรียบเทียบ “อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ” แล้วพบว่าแนวทางและหลักการในการควบคุมภูมิอากาศ คล้ายคลึงกับอุปกรณ์ที่พัฒนา โดยกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีเป้าหมายในควบคุมการให้น้ำเพื่อให้ดินมีความชื้นที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช โดยการควบคุมสภาพอากาศบริเวณใต้ทรงพุ่มของทุเรียนให้มีความแปรปรวนน้อย โดยการควบคุมการให้น้ำจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสภาพอากาศใต้ทรงพุ่มของทุเรียน โดย ความชื้น: การให้น้ำอย่างเหมาะสมจะช่วยรักษาความชื้นในดิน (Moisture) และบริเวณใต้ทรงพุ่ม เพราะน้ำในดินมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความชื้นในบรรยากาศ (Humidity) ทำให้สภาพอากาศใต้ทรงพุ่มมีความชื้นเหมาะสมตามความต้องการของทุเรียน ส่วน อุณหภูมิ การควบคุมความชื้นที่เหมาะสม มีผลโดยตรงในการควบคุมอุณหภูมิในดินและอากาศใต้ทรงพุ่มของพืช โดยน้ำที่ได้รับจะช่วยลดอุณหภูมิในดินในช่วงเวลาที่มีแสงแดดร้อน นอกจากนี้ การคายน้ำ การดูดน้ำและสารละลายธาตุอาหารพืช เมื่อควบคุมความชื้นในดินและอุณหภูมิอากาศอยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้ การคายน้ำ ดูดธาตุอาหารและการเปิดปิดของปากใบพืชก็จะได้ประสิทธิภาพผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง

ซึ่งผู้วิจัยที่เข้าร่วมการวิเคราะห์เปรียบเทียบต่างเห็นตรงกันว่า “อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะ” ในแปลงเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตรดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นแปลงต้นแบบให้กับเกษตรกรที่สนใจ รายอื่นๆนำไปปรับใช้ได้
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า “ได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จัดทำศูนย์เรียนรู้ “อุปกรณ์ควบคุมภูมิอากาศอัจฉริยะในสวนทุเรียน” ในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 60 วัน เพื่อขยายผลงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ด้านเกษตรอัจฉริยะ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปลูกทุเรียนได้นำไปขยายผลปรับปรุงระบบควบคุมภูมิอากาศภายในสวน

Related

Powered by WordPress

แชท
Skip to content