1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. การประชุม​ 9th​ ASEAN​ Climate​ Resilience​ Networ…

การประชุม​ 9th​ ASEAN​ Climate​ Resilience​ Network ( ASEAN-CRN) Annual Meeting 

“ธรรมนัส” ลุย !!! แก้ฝุ่นควันจากการเผาภาคการเกษตรระดับอาเซียน โดยใช้มาตรฐาน GAP PM2.5 Free ผ่านเครือข่าย ASEAN-CRN แก้ปัญหาฝุ่นควันภาคเกษตรระดับอาเซียน คืบ “ธรรมนัส” รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบอธิบดีกรมวิชาการเกษตร สร้างความร่วมมือระดับอาเซียนและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในการแก้ปัญหาการเผาและลดฝุ่นควันภาคการเกษตร โดยใช้มาตรฐาน “GAP PM 2.5 Free” Campaign ใหญ่ “3 R” บูรณาการสมาชิกอาเซียนและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแก้ปัญหายั่งยืน ภายใต้มาตรฐาน GAP

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 นายรพีภัทร์​ จันทรศรีวงศ์​ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร​ ในฐานะประธาน ASEAN-CRN กล่าวเปิดการประชุม​ 9th​ ASEAN​ Climate​ Resilience​ Network ( ASEAN-CRN) Annual Meeting ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม  ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 ตึก กสิกรรม กรมวิชาการเกษตร

ในโอกาสนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเน้นย้ำถึงนโยบาย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบาย 3R Model ลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ประกอบด้วย

  1. Re-Habit : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช เป็นการปลูกแบบไม่เผา โดยใช้มาตรฐาน GAP PM 2.5 Free กรมวิชาการเกษตร ควบคุมกระบวนการผลิตพืชไม่ให้มีการเผา ร่วมกับการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว

2. Replace with High value crops : ปรับเปลี่ยนชนิดพืชจากพืชไร่ที่มีการเผา เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวคาโด้

3. Replace with Alternate crops : เปลี่ยนเป็นพืซทางเลือก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ในพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง หรือพื้นที่นอกเขตชลประทาน ร่วมกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์ต่อดิน รวมถึงการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง

ทั้งนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเน้นย้ำและให้ความสำคัญในการลดการเผาด้านการเกษตร ผ่านการสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง จริงจัง ต่อเนื่องและยั่งยืนภายในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันจากสมาชิก ASEAN-CRN ในการช่วยนำแนวทางและนโยบายจากการประชุมในครั้งนี้ เช่น การใช้มาตรการ GAP PM2.5 Free โดยกรมวิชาการเกษตร ไปใช้ในการการพัฒนามาตรฐานระดับอาเซียนเพื่อลดการเผาในกระบวนการผลิตภาคการเกษตรรวมถึงกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนที่ช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้นายรพีภัทร์​ จันทรศรีวงศ์​ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร​ แสดงความยินดี ในโอกาสครบรอบ 10 ปี การสร้างเครือข่าย ASEAN​ Climate​ Resilience​ Network ( ASEAN- CRN)  โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลอง ณ จ. เชียงใหม่ ในช่วงปลายปี 2567 และเชิญสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมงานเยี่ยมชมแปลงต้นแบบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดการเผา PM 2.5 Free และการปรับเปลี่ยนพืชปลูกที่มีการเผาเป็นพืชที่มีศักยภาพทดแทน เช่น กาแฟสายพันธุ์อะราบิกาด้วย

Related

Powered by WordPress

แชท
Skip to content