1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ห่วงใยพี่น้องจังหวัดชายแตนใต…

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ห่วงใยพี่น้องจังหวัดชายแตนใต้ที่ประสบปัญหาอุทกภัยสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวใต้อย่างต่อเนื่องพร้อมช่วยเหลือเยียวยาหลังน้ำลด

นายระพีภัทร์ จันทรศรี่วงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายพื้นที่ภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเร่งช่วยอย่างเร่งด่วน

นายระพีภัทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ในครั้งนี้เป็นภัยพิบัติที่เหนือความคาดหมาย ในรอบ 50 ปี ที่สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างวงกว้าง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด โดยร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า และตนเอง ได้บินด่วนไปตรวจเยี่ยมพร้อมให้กำลังใจราษฎรผู้เดือดร้อน พร้อมให้การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเบื้องต้น สนับสนุนอาหารกล่องพร้อมน้ำดื่มให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งหลังจากนี้กรมวิชาการเกษตร จะเร่งสำรวจความเสียหายพื้นที่ภาคการเกษตรในด้านพืช พร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และหามาตรการในการเยียวยาเป็นการเร่งด่วนต่อไป

ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้

1.วันที่ 26-27 ธันวาคม 2566 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ แจกจ่ายอาหารแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อบรรเทาทุกข์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย

2. วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบอุทกภัยพร้อมมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ถุงยังชีพ และร่วมปรุงอาหารโรงครัวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับมูลนิธิธรรมนัส พรหมเผ่า เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

ในโอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนางประพิศ วองเทียม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 พร้อมด้วย ผอ.ศวพ เครือข่ายและเจ้าหน้าที่ร่วมลงพื้นที่ และ พบปะเจ้าหน้าที่ สวพ. 8 ด่านตรวจพืชสุไหงโกลก ด่านศุลกากรสุไหงโกลก เพื่อรับฟัง และมอบนโยบายเร่งด่วน “นำความห่วงใยจากกรมวิชาการเกษตรสู่พี่น้องชายแดนใต้ที่ประสบภัยน้ำท่วม“ พร้อมทั้งให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

3. วันที่ 28-29 ธันวาคม 2566 และ 1 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี พร้อมหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรในพื้นที่ร่วมทำกิจกรรม “โรงครัวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมูลนิธิธรรมนัส พรหมเผ่า เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้ประสบอุทกภัย”

4. วันที่ 2 มกราคม 2567 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติ ฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย ร่วมกับเจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส จิตอาสา 904 และประชาชนจิตอาสาอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีการมอบอุปกรณ์ทำความสะอาด ข้าวกล่อง และน้ำดื่ม แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

5. วันที่ 2 มกราคม 2567 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา พร้อมเจ้าหน้าที่ และเกษตรอำเภอกรงปินัง ทำกิจกรรม ”ด้วยความห่วงใย จากกรมวิชาการเกษตร“ ตามนโยบายเร่งด่วนของ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดยะลา ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

6. วันที่ 4 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา พร้อมเจ้าหน้าที่ทำกิจกรรม ”ด้วยความห่วงใย จากกรมวิชาการเกษตร“ ตามนโยบายเร่งด่วนของ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดยะลา ณ หมู่ที่ 3 บ้านตะโล๊ะ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

7. วันที่ 4 มกราคม 2567 คณะเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ ลงพื้นที่มอบข้าวกล่องและน้ำดื่ม แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ภายใต้กิจกรรมโรงครัว “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมูลนิธิธรรมนัส พรหมเผ่า ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนราธิวาส” ในพื้นที่บ้านโคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

8. วันที่ 5 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา พร้อมด้วยหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดยะลา ออกหน่วยบริการศูนย์บริการเกษตรพิรุณราชเคลื่อนที่เพื่อรับเรื่องความเสียหายจากอุทกภัยด้านการเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงในพื้นที่ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลวังพญา เพื่อรับเรื่องข้อมูลความเสียหายด้านการเกษตร พร้อมให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาฟื้นฟูด้านการเกษตร ประกอบด้วย การให้บริการ ด้านพืช /ประมง/ปศุสัตว์ /ยางพารา/ปัญหาดิน /น้ำ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ให้สามารถพื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่เสียหายอย่างถูกวิธีหลังน้ำลดเป็นภารกิจเร่งด่วนของกรมวิชาการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีความพร้อมในการลงพื้นที่ให้คำแนะนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากผลงานวิจัยกว่า 50 ปีแก่เกษตรกร โดยชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ ปฏิบัติการฟื้นฟูสวนไม้ผลและพันธุ์พืชให้กับเกษตรกรภายหลังประสบอุทกภัย จะลงพื้นที่สำรวจความเสียหายหลังน้ำลด ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการดูแลพืชหลังน้ำท่วม แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืช เพื่อปลูกพืชเสริมรายได้ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ถั่วหรั่ง ถั่วเขียว และเมล็ดพันธุ์ผัก แจกจ่ายชีวภัณฑ์เพื่อบำรุงและรักษาโรคพืช แจกจ่ายปุ๋ยหมักเติมอากาศเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

#กรมวิชาการเกษตร#DOATOGETHER

#51ปี กรมวิชาการเกษตร

Related
แชท
Skip to content