1. Home
  2. »
  3. ข่าวกิจกรรม
  4. »
  5. กรมวิชาการเกษตรร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมเชิงปฏิบั…

กรมวิชาการเกษตรร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Asian Short Course on Agribiotechnology, Biosafety, and Communication (ASCA) ครั้งที่ 7 เน้นย้ำบทบาทของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

นายรพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นผู้แทนกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Asian Short Course on Agribiotechnology, Biosafety, and Communication (ASCA) ครั้งที่ 7
ระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2567ณ โรงแรมมารวยการ์เด้นซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (The International Service for the Acquisition of Agri-biotech Application: ISAAA)กรมวิชาการเกษตรและสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วม เพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์กล่าวว่า ความก้าวหน้าที่รวดเร็วในเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ซึ่งถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับมือกับศัตรูพืชที่อุบัติใหม่ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค การยอมรับความปลอดภัยและศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้จากองค์กรต่างๆ เช่น องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)

ประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้คือ ประกาศจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรพ.ศ. 2567 ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567และกรมวิชาการเกษตรออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับประเทศไทยในการนำเอานวัตกรรมทางชีวภาพขั้นสูงมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความสามารถในการฟื้นตัวของการเกษตร

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการเกษตรในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนวิทยาศาสตร์ระดับโลกอีกด้วย การปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติระดับสากลจะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทย ในการร่วมมือแบ่งปันความรู้ด้านการเกษตรที่ยั่งยืน กับนานาประเทศและการเริ่มต้นของประเทศไทยครั้งนี้จะส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยจะมีการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญทรัพยากร และเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหารของโลกผ่านนวัตกรรมและการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Related
แชท
Skip to content