1. Home
  2. »
  3. ข่าวกิจกรรม
  4. »
  5. เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาระบบอำนวยความ…

เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาระบบอำนวยความสะดวก เพื่อการลงทุนคาร์บอนต่ำ และการสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิต ในประเทศไทย (Development of Low-Carbon Investment Facility and Carbon Credit Monetization in Thailand)”

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ ดร.สมคิด ดำน้อย ผอ.กองวิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจก เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาระบบอำนวยความสะดวก เพื่อการลงทุนคาร์บอนต่ำ และการสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย (Development of Low-Carbon Investment Facility and Carbon Credit Monetization in Thailand)” ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1-2 สสค. ชั้น 14 อาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพมหานคร

โดยในการสัมมนาดังกล่าวเป็นการร่วมหารือระหว่าง World Bank Thailand โครงการพัฒนาตามพื้นที่ (PMU-A) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อนึ่งวัตถุประสงค์หลักของการสัมมนาครั้งนี้คือเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องคาร์บอนเครดิต การสร้างรายได้และระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ถึงศักยภาพในการพัฒนาโครงการลงทุนคาร์บอนต่ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกที่นำเสนอมีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งการดำเนินการลงทุนคาร์บอนต่ำโดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และการยกระดับยานยนต์ไฟฟ้าที่ปรับแต่งสำหรับประเภทต่างๆ ทรัพย์สินเชิงพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย ระบบอุตสาหกรรมและระบบสาธารณะ รวมถึงการพัฒนาระบบคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร โดยในงานสัมมนานี้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สรุปความก้าวหน้าในการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน แผนการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนที่ให้ผลตอบแทนสูง การลงทุนที่เพิ่มการประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์

โดยในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรและวางระบบการสร้างรายได้รวมถึงสนับสนุนการส่งออก ประกอบด้วยการจัดทำต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืช โดยมีแนวทางการดำเนินงานในพืชเป้าหมายที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และไม้ผล (ทุเรียน และมะม่วง) ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ การพัฒนา National Carbon Emission Baseline ในพืชเศรษฐกิจนำร่องเพื่อเป็นค่ากลางของประเทศ การพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตรร่วมกับภาคเอกชนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มเกษตรกร และ การพัฒนากรมวิชาการเกษตรเพื่อเป็นหน่วยงานตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้กรมวิชาการเกษตรสามารถเป็นหน่วยงานในการตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้และการเกษตร พร้อมทั้งเตรียมวางระบบการรับรอง Carbon Footprint การผลิตพืชในรูปแบบของระบบ GAP Carbon Credit plus ซึ่งจะเป็นระบบการรับรอง Crops Certified Carbon Footprint ครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะช่วยรองรับการผลิตพืชและการส่งออกแบบ “คาร์บอนต่ำ (Low Carbon)” ให้กับเกษตรไทยในตลาดโลกอีกด้วย

#กรมวิชาการเกษตร #DOATOGETHER

#50 ปี กรมวิชาการเกษตร

Related
แชท
Skip to content