1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. การประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริย…

การประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายจาก อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานคณะทำงานโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม 201 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตรและผ่านทางระบบออนไลน์ Application Zoomโดยพิจารณาความก้าวหน้าผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ 2566 และแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
1. แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ รายได้สุทธิจากแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ 10,487 บาทต่อไร่ ขณะที่รายได้สุทธิของแปลงเกษตรกร เพียง 261 บาทต่อไร่
2. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเหลืองในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ รายได้สุทธิจากแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ 6,952 บาทต่อไร่ ขณะที่รายได้สุทธิของแปลงเกษตรกร 2,640 บาทต่อไร่
3. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วเขียวในพื้นที่ปลูกที่สำคัญของประเทศ เป็นการนำเอา 10 เทคโนโลยีมาใช้ร่วมกัน รายได้สุทธิจากแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ 3,296 บาทต่อไร่ ขณะที่รายได้สุทธิของแปลงเกษตรกร 1,176 บาทต่อไร่
4. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตถั่วลิสง ผลผลิตถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9 ได้ผลผลิตฝักสด 685 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักแห้ง 369 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักแห้งสูงกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 จำนวน 105 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5,250 บาทต่อไร่ ยังอยู่ในขั้นตอนการเก็บข้อมูล ยังไม่มีข้อมูลรายได้สุทธิ
5. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ จ.ระยอง เริ่มปลูกเมื่อ 17 มีนาคม 2566 โดยนำเครื่องปลูกติดท้ายรถแทรกเตอร์ ระบบการจัดการน้ำตามความต้องการของมันสำปะหลังด้วยระบบเซนเซอร์และควบคุมผ่าน IoT และประเมินอาการขาดธาตุไนโตรเจนในมันสำปะหลังด้วยการแปลผลภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งอยู่ระหว่างรอการเก็บเกี่ยว
5. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะลำไย ได้นำ Sensors เพื่อการตรวจวัดทางการเกษตรระบบการให้ปุ๋ยทางน้ำและให้น้ำพืชอัตโนมัติตามความต้องการของลำไย และสั่งการทำงานของระบบควบคุมการให้น้ำผ่าน Application รวมถึงแสดงข้อมูลการผลิตลำไย (Dashboard) ทั้งนี้ได้มีการแนะนำให้นำเครื่องตัดหญ้าที่ควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้กำจัดวัชพืชในแปลงลำไย
6. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะผลิตสับปะรดผลสด อยู่ระหว่างดำเนินงาน โดยนำเทคโนโลยีระบบการให้น้ำอัจฉริยะ ระบบการให้ปุ๋ยร่วมกับระบบน้ำ การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบปรับอัตราฉีดพ่นอัตโนมัติ การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจและติดตามการเจริญเติบโตของสับปะรด และเครื่องลำเลียงผลสับปะรด

7. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ พื้นที่ปลูกพืช 5ไร่ ประกอบด้วย ทุเรียน 1 ไร่ พืชไร่ 1 ไร่ พืชผักและที่อยู่อาศัย 1 ไร่ นาข้าว 2 ไร่ สระน้ำ 2 ไร่(เนื่องจากน้ำในสระน้ำอาจไม่พอเพียงในการใช้ปลูกข้าวจึงให้พิจารณาอาจเปลี่ยนจากข้าว 2 ไร่ เป็นพืชไร่ 2 ไร่) และสระน้ำ 2 ไร่ โดยในไม้ผลมีระบบการให้น้ำตามความต้องการของพืชแบบอัตโนมัติ ซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งไม่ต้องเสียค่าพลังงาน ทำให้ลดค่าไฟฟ้าได้ 150-200 บาท ต่อไร่ต่อเดือน ถึงแม้ว่าต้นทุนเริ่มต้นลงทุนติดตั้งโซล่าเซลใช้งบประมาณ 100,000 บาท ซึ่งหากปลูกทุเรียน 5 ไร่ จะต้องเสียค่าไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำ + ค่าไฟถังแรงดันประมาณ 700- 1,000 บาทต่อเดือน จึงต้องเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 8,000 – 12,000 บาทต่อปี ดังนั้นระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะคุ้มทุนเมื่อประมาณ 8 – 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับระบบไฟฟ้าปกติ และโซล่าเซลมีอายุใช้งานประมาณ 30 ปี อย่างไรก็ตามระบบสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ยังนับว่ามีประโยชน์อย่างสูงสุดในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้งาน สายไฟเข้าไม่ถึง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะใช้เครื่องสูบน้ำแบบใช้น้ำมัน ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงมาก / และ เขตปลูกทุเรียนในพื้นที่ต่างๆ เช่น ภาคตะวันออกควรสำรวจ รวบรวมหาค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำต่อไร่ เพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิง ต่อไป เนื่องจากค่าไฟมีแนวโน้มปรับราคาสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

#50ปีกรมวิชาการเกษตร

Related
แชท
Skip to content