1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอโครงการ “…

เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอโครงการ “การยกระดับการประเมินความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการทางการเงิน เพื่อความเสี่ยงสำหรับประเทศไทย”

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอ โครงการ “การยกระดับการประเมินความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการทางการเงินเพื่อความเสี่ยงสำหรับประเทศไทย” (Enhancing Risk Assessment (ERA) for Improved Country Risk Financing Strategies Project) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม เรดิสัน บลู พลาซ่า กรุงเทพฯ
 
การประชุมดังกล่าวดำเนินการโดยโครงการ ASEAN-German ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน เพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (The Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region) ที่ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย ร่วมกับ Munich Climate Insurance Initiative of the United Nations University โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ
 
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในกระบวนการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการเกษตร สามารถนำศาสตร์ทางด้าน วนเกษตร ซึ่งเป็นการนำหลักการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หรือ Nature-based Solutions (NbS) มาใช้ รวมถึง Agro – forestry ที่มีประโยชน์หลายประการ ตั้งแต่การลดความเสี่ยงและการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศผ่านการกักเก็บคาร์บอน นอกจากนี้ยังสามารถนำศาสตร์พระราชาด้านการเกษตร มาใช้เป็นแนวทางในการลดและประเมินความเสี่ยงได้ ซึ่งส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่ดี
ทั้งนี้นโยบาย ต่างๆ ต้องสอดรับกับนโยบายสากล โดยเฉพาะข้อผูกพันธ์กับ สหประชาชาติ (UN) อาทิ SDGs (Sustainable Development Goals) ความตกลง COP26 ความร่วมมือกับ UNFCCC นอกจากนี้ ต้องมีความเชื่อมโยงกับ ยุทศาสตร์ ภายในประเทศทั้งในเรื่อง BCG Model รวมถึงการจัดการทางการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยง และปรับยุทธศาสตร์ให้เป็นวิธีการหรือ Methodology
 
อนึ่ง อธิบดีกรมวิชาการเกษตรยังกล่าวอีกว่า ในปีนี้กรมวิชาการเกษตรได้รับเลือกให้เป็นประธาน ASEAN CRN และ ATWGARD โดยกรมวิชาการเกษตร ได้เสนอต่อที่ประชุม ASEAN Climate Resilience Network ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 เรื่องโครงการระดับภูมิภาคเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นความร่วมมือระดับ ASEAN ภายใต้ โครงการ ASEAN Joint Work on GHG Emission Reduction Program on Crops (AGERCrops)
ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มองเห็นความสำคัญและผลักดันการพัฒนา National Carbon Credit Baseline ในพืชนำร่องที่มีปริมาณการส่งออกสูง อาทิ ทุเรียน ผลไม้ มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ร่วมกับ องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และภาคเอกชน รวมถึงการจัดการฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเกิดจากปัญหาการเผาไหม้ทางการเกษตร
 
การบริหารจัดการทางการเงินที่มียุทธศาสตร์ชัดเจนครบทุกบริบทจึงมีความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงสำหรับประเทศไทย ทั้งในส่วนของการวิจัยทางด้านเกษตรที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ การวิจัยทางด้าน Modern Biotechnology และ Modern Agriculture รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินในเรื่อง ระบบการผลิตอาหาร (Food System) โครงการพัฒนาศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์เขตร้อนระดับโลก (World Tropical Seed Hub) เทคโนโลยีและระบบการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร
 
ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรได้ทำงานร่วมกับ GIZ ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การส่งเสริมเกษตรยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการประกันภัยพืชผล โดยการทำงานบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานหลายภาคส่วนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
โครงการ ERA ได้สนับสนุนเรื่องการวิเคราะห์และแนะนำมาตรการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สามารถลดความเสี่ยงและช่วยให้ภาคการเกษตรสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าประเทศไทยเผชิญกับภัยความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น การเกิดภัยน้ำท่วมและน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ทรัพย์สินทางการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
 
“การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้ ถือเป็นการประชุมสำคัญที่จะเข้ามาสนับสนุนการจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโดยเน้นในภาคการเกษตรการประเมินความเสี่ยงที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาและปรับยุทธศาสตร์ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการจัดการทางการเงินเพื่อความเสี่ยงให้กับประเทศไทย รวมถึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน ที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ และร่วมกำหนดกิจกรรมการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ แนวทางการดำเนินงานร่วมกัน อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
 

 

 

Related
แชท
Skip to content