1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. กรมวิชาการเกษตร ขยายผล “จันทบุรีโมเดล” ส่งออกทุเรี…

กรมวิชาการเกษตร ขยายผล “จันทบุรีโมเดล” ส่งออกทุเรียนคุณภาพ สู่จีน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยผลการดําเนินการควบคุมคุณภาพ และ ตรวจรับรองสุขอนามัยพืช ส่งออกทุเรียนในฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 จนถึงปัจจุบัน ว่าสามารถส่งออกทุเรียนสดไปจีนแล้ว 2.5 หมื่นตู้คอนเทนเนอร์ น้ําหนัก 4.5 แสนตัน สร้างมูลค่ากว่าแสนล้านบาท การส่งออกเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกเส้นทางไม่ว่าจะทางบก ทางเรือ ทาง อากาศรวมทั้งเส้นทางขนส่งทางรถไฟ

นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อํานวยการสํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กล่าวว่า ปริมาณการส่งออกหลังครบกําหนดวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทองภาคตะวันออก 15 เมษายน 2566 ถึงต้น เดือนพฤษภาคม มีปริมาณเฉลี่ย 850-950 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อวัน ซึ่งหลังจากนี้จะมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยวันละ 200-250 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าผลผลิตรุ่นสุดท้ายในพื้นที่ภาคตะวันออกจะออกช่วงปลายเดือน พฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน 66 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตในภาคใต้ ราคาผลผลิตทุเรียนปีนี้ค่อนข้างสูงตั้งแต่ต้นฤดูเป็นที่น่าพอใจของชาวสวนทุเรียน ณ ปัจจุบันราคา รับซื้อหน้าล้ง เกรด เอบี ราคา 160-180 บาท ส่วนผลผลิตที่ตกไซด์ มีตําหนิ จําหน่ายในตลาด ภายในประเทศราคาดีต่อเนื่อง

ทางกรมวิชาการเกษตร ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกรผู้ประกอบการล้ง เอกชน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน สมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ (MAFTA) สมาคมผู้ค้าและ ส่งออกผลไม้ไทย สมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน สมาคมทุเรียนไทย (TDA) สมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทยที่ ทํางานร่วมกับกรมวิชาการเกษตรอย่างใกล้ชิด เข้มข้น รักษาคุณภาพทุเรียนสําหรับส่งออกไปยังประเทศ จีน พร้อมนี้กรมวิชาการเกษตรเตรียมนํามาตรการควบคุมคุณภาพการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออก ขยายผลสู่ภาคใต้ เพื่อรองรับฤดูกาลผลิตของทุเรียนภาคใต้ และผลผลิตทุเรียนภูมิภาคอื่นๆ โดย อธิบดีกรม วิชาการเกษตรได้มอบหมายให้ สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 สรุปจัดทําแผนการบริหารจัดการ ปฏิบัติงาน”จันทบุรีโมดล” เพื่อนําไปขยายผลใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพการส่งออก ทุเรียนเพื่อรักษาคุณภาพทุเรียนไทยต่อไป
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้สั่งการให้ หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่รับผิดชอบการควบคุม คุณภาพทุเรียนของประเทศ เช่น สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตท่ี 7 สุราษฎร์ธานี ที่รับผิดชอบควบคุม คุณภาพทุเรียนภาคใต้, สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ที่รับผิดชอบควบคุมคุณภาพ ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์, สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดศรีสะเกษ ที่รับผิดชอบควบคุม คุณภาพทุเรียนศรีสะเกษ และจังหวัดในพื้นที่อีสานล่าง ส่งเจ้าหน้าท่ีเข้าศึกษาดูงาน รวมทั้งฝึกปฏิบัติการ ปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพส่งออกทุเรียน ร่วมกับ สวพ.6 เพื่อเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานในพื้นที่ รับผิดชอบต่อไป
Related
แชท
Skip to content