เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 นางลูเครเซีย คานอน เจ้าหน้าที่บริหารจัดการที่ดิน (P3) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เข้าพบนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อย่างไม่เป็นทางการในรูปแบบ Virtual meeting โดยในการเข้าพบมีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่ไทยจะยื่นขอโครงการภายใต้กลไกการให้สินเชื่อร่วม (Joint Credit Mechanism, JCM) ของญี่ปุ่น รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต และความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วม TCP The (Technical Cooperation Programme) ระดับภูมิภาคในหัวข้อ : การแปลงขยะเหลือทิ้งด้านอาหารเพื่อรีไซเคิลเป็นปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ สำรวจถึงความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการเก็บรวบรวมและผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและซูเปอร์มาร์เก็ตด้วย และการจัดตั้ง/ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรให้มีสินค้าเกษตรในตลาดที่ดีขึ้นและร่วมกันจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร กิจกรรมนี้อาจช่วยลดมลพิษทางอากาศจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากการเพาะปลูก นอกจากยังสอบถามถึงความเป็นได้ถึงขั้นตอนการยื่นโครงการ King Bhumipol World Soil Day Award และกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร การพัฒนา Carbon Credit Baseline ในระดับประเทศไทย และ การพัฒนา Carbon Credit ภาคการเกษตรในระดับอาเซียน ในเครื่อข่าย ASEAN CRN รวมถึงการยื่นขอสนับสนุนเงินจากโครงการ Green Climate Fund (GCF, FAO) ซึ่งไทย โดยกรมวิชาการเกษตร ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาและวิจัยต่างๆอย่างเต็มที่ ในปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ทุเรียน และ มะม่วง ในพื้นที่นำร่องทั่วประเทศร่วมกับภาคองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
#กรมวิชาการเกษตร #DOATOGETHER
#50ปีกรมวิชาการเกษตร