1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. การประชุมยกร่างเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกรดโรงคัดบรรจุ เข…

การประชุมยกร่างเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกรดโรงคัดบรรจุ เขียว เหลือง แดง ย้ำเตือนข้อกำหนด ตาม ระเบียบ และ ประกาศกรมวิชาการเกษตร รวมถึง บทลงโทษต่างๆ

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดบ้านรับ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และนายไพบูลย์ วงศ์โชติสถิต นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมผู้ส่งออกลำไยภาคตะวันออก ยกร่างเกณฑ์ในการจัดแบ่งเกรดโรงคัดบรรจุ เขียว เหลือง แดง ย้ำเตือนข้อกำหนดตามระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. 2555 และ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช รวมถึง ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน โรงงานผลิตสินค้าพืช พ.ศ. 2563
 
“กรมวิชาการเกษตร ขานรับนโยบาย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการทุกภาคส่วน คุมเข้มทุเรียนภาคตะวันออก เน้นการทำงานร่วมกันของ 3 ประสาน เจ้าของสวน แปลงต้องผ่านมาตรฐาน GAP เข้มงวดวันตัด ไม่ตัดทุเรียนอ่อน มือตัด ขอความร่วมมือ ให้เข้ารับการฝึกอบรมขึ้นทะเบียนนักคัด นักตัดทุเรียน ล้ง กรณีพบทุเรียนอ่อน ล้งต้องไม่รับซื้อ ซึ่งการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 ประสานจะนำทุเรียนไทย ไปสู่ทุเรียนคุณภาพ ระดับโลก เกณฑ์ในการแบ่งเกรดโรงคัดบรรจุ กรมวิชาการเกษตร จำแนกเกรด จากการติดตามการบริหารจัดการและพฤติกรรมของล้งที่ผ่านมา
​ ล้งสีเขียว ไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนศัตรูพืช/สารพิษตกค้าง จากประเทศคู่ค้า และไม่พบข้อร้องเรียน กรณีซื้อผลผลิตด้อยคุณภาพ มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพผลผลิต ศัตรูพืช สารพิษตกค้าง เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งด้วยตัวเอง พร้อมแสดงหลักฐาน มีมาตรการป้องกัน Covid -19 มีจุดตรวจพืช มีจุดตรวจความสุกแก่ทุเรียน มีจุดตรวจการขึ้นทะเบียนมือตัดทุเรียน มีป้ายประชาสัมพันธ์ “ไม่รับซื้อทุเรียนอ่อน” ติดบริเวณหน้าล้ง ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างดี ผลการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือ ด้อยคุณภาพ ไม่เกินร้อยละ 5 ล้งสีเขียว จะได้รับการประชาสัมพันธ์รายชื่อล้งสีเขียว มอบเกียรติบัตรให้แก่ล้งที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม และ สุ่มตรวจทุก 10 วัน
 
ล้งสีเหลือง ไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนศัตรูพืช/สารพิษตกค้าง จากประเทศคู่ค้า และไม่พบข้อร้องเรียน กรณีซื้อผลผลิตด้อยคุณภาพ มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพผลผลิต ศัตรูพืช สารพิษตกค้าง เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งด้วยตัวเอง พร้อมแสดงหลักฐาน มีมาตรการป้องกัน Covid -19 มีจุดตรวจพืช มีจุดตรวจความสุกแก่ทุเรียน มีจุดตรวจการขึ้นทะเบียนมือตัดทุเรียน มีจุดตรวจการขึ้นทะเบียนมือตัดทุเรียน ไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์ “ไม่รับซื้อทุเรียนอ่อน” ติดบริเวณหน้าล้ง ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างดี ผลการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือ ด้อยคุณภาพ ไม่เกินร้อยละ 5-10 ล้งสีเหลือง หากมีการแก้ไขปรับปรุงให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ ปรับเป็นสีเขียว แต่หากไม่ปรับปรุง ปรับเป็นสีแดง และสุ่มตรวจทุก 5 วัน
 
ล้งสีแดง ได้รับการแจ้งเตือนศัตรูพืช/สารพิษตกค้าง จากประเทศคู่ค้า และไม่พบข้อร้องเรียนกรณีรับซื้อผลผลิตด้อยคุณภาพ ไม่มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ผลผลิต ศัตรูพืช สารพิษตกค้าง เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งด้วยตัวเอง และไม่แสดงหลักฐาน ไม่มีจุดตรวจการขึ้นทะเบียนมือตัดทุเรียน ไม่มีป้าย ประชาสัมพันธ์ “ไม่รับซื้อทุเรียนอ่อน” ติดบริเวณหน้าล้ง ไม่ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าตรวจคุณภาพเป็นอย่างดี ผลการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของทุเรียน ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือด้อยคุณภาพเกินกว่าร้อยละ 10 ล้งสีแดง หากไม่มีการปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ และผลตรวจแย่ลง จะมีการพิจารณา พักใช้ ยกเลิก หรือเพิกถอน ใบ DOA ตามระดับความร้ายแรงของการกระทำความผิด และต้องตรวจ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดิม
 
มาตรการป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อนและการสวมสิทธิ์ใบ GAP ถ้าสวนใดได้รับการแจ้งเตือนปัญหาศัตรูพืช ทาง สวพ. 1-8 ที่เกี่ยวข้อง จะมีหนังสือแจ้งให้สวนตรวจสอบปัญหาภายในกำหนด และส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจติดตาม หากไม่ปฏิบัติตาม จะถูกพักใช้ไป GAP ส่วนการเพิกถอน ใบ GAP สาเหตุจาก ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2555 และส่งผลต่อร้ายแรงการรับรอง (เช่น การสวมสิทธิ์ใบ GAP) ใช้ ครอบครอง หรือผลตรวจวิเคราะห์พบวัตถุอันตรายประเภท 4 หรือถูกสั่งพักใช้ใบ GAP เกิน 2 ครั้ง หรือ มีการร้องเรียนผลกระทบที่ร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบ GAP และ ถูกเผยแพร่ชื่อเกษตรกร
มาตรการระงับ ใบ DOA ของโรงคัดบรรจุ อันเกิดสาเหตุจาก การไม่แก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องตามที่รับแจ้งภายใน 90 วัน ผลการตรวจติดตาม/ได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าด้านความปลอดภัยทางอาหาร 3 ครั้งภายใน 90 วัน (นับตั้งแต่ได้รับการแจ้งเตือนครั้งที่ 1) การไม่ให้ความร่วมมือหรือปฏิเสธการเข้าตรวจติดตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควรติดต่อกัน 2 ครั้ง นำการขึ้นทะเบียนไปใช้หรืออ้างอิงในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรืออาจทำให้เข้าใจผิดในการได้รับขึ้นทะเบียน มีบทลงโทษ โดยจะระงับหนังสือสำคัญในการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช (ใบ DOA) จนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนมาตรการระงับหรือยกเลิกใบ DOA สาเหตุจาก ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ หรือส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศโดยส่วนรวม หรือมีข้อผูกพันทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้า จะถูกระงับหรือยกเลิกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืช (ใบ DOA)
 
​ ทุเรียนส่งออกทุกชิปเม้นท์ จะต้องผ่านการตรวจใบรับรอง GAP ที่ออกโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 โดยด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรณีสงสัยที่มาของทุเรียนจะประสาน สวพ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเกษตรกรเจ้าของ GAP เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ และ ผู้ประกอบการ GMP กรมวิชาการเกษตรมีทีมคณะทำงานเฉพาะกิจคุณภาพผักและผลไม้ไทย เพื่อร่วมตรวจสอบทันที จำนวนแปลงกับจำนวนผลผลิตต้องสอดคล้องกัน ซึ่งทั้งสองกรณีย้ำว่า หากกรมวิชาการเกษตรตรวจเจอจะไม่อนุญาตให้ส่งออก ชุดเฉพาะกิจมีอำนาจในการสั่งพักใช้ เพิกถอนใบรับรอง หรือระงับยกเลิกหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนของสวนและโรงคัดบรรจุ
 
ในส่วนการของตรวจปิดตู้เพื่อส่งออก สำนักควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร ได้จัดเพิ่มกำลังนายตรวจเพิ่มขึ้นจาก 30 คน เป็น 60 คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคุณภาพทุเรียน และ ขยายเวลาปิดตู้จาก 20.00 น เป็น 22.00 น ซึ่งหากให้เจ้าหน้าที่ตรวจหลังเวลา 22.00 น ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเวลา 18.00 น
 
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “การประชุมร่วมกันของทั้ง 3 ฝ่าย กรมวิชาการเกษตรได้เชิญหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง กงสุลฝ่ายเกษตร นครเซี่ยงไฮ้ กงสุลฝ่ายเกษตร นครกว่างโจว สวพ.1-8 ด่านตรวจพืชทุกด่านเข้าร่วม เพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน และเน้นย้ำนโยบายอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้บริหารทุกระดับได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อตรวจติดตามงาน และสร้างขวัญกำลังใจ
 
อธิบดีกรมการค้าภายในเน้นย้ำ การนำข้อเท็จจริง มาทำงานร่วมกัน ทั้งมาตรการต่างๆ และ การแจ้งเบาะแส ทั้งการสวมสิทธิ์ในต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งทูตพาณิชย์ และ ทูตเกษตร จะลงไปช่วยแก้ปัญหา แม้กระทั่ง แจ้งเบาะแสการสวมสิทธิ์ในประเทศ ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน “1569” เพื่อสร้างทีม Thailand ในการช่วยให้การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย มากที่สุด
 
#กรมวิชาการเกษตร#DOATOGETHER
#50ปีกรมวิชาการเกษตร
 
***************
Related
แชท
Skip to content