1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระท…

ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom meeting)

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาเกษตร ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom meeting) ณ ห้องประชุม 201 กรมวิชาการเกษตร โดยมี นายอนุชิต ฉ่ำสิงห์ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม นำเสนอความก้าวหน้าการวิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง จากปัญหาค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง มีสัดส่วนต้นทุนสูงสุดในการผลิตมันสำปะหลัง (27%) และการขาดแคลนแรงงานเข้าขั้นวิกฤต สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา ดังนี้

1. วิจัยและพัฒนา “เครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู” ได้เครื่องต้นแบบจำนวน 2 รูปแบบ มีภาคเอกชนจำนวน 3 ราย นำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดและผลิตจำหน่ายรวมมากกว่า 1,000 ชุด

2. วิจัยและพัฒนา “เครื่องขุดและเก็บมันสำปะหลัง” เป็นการวิจัยต่อยอดจากผาลขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมูให้สามารถทำงานได้ทั้งการขุด และเก็บรวบรวมเหง้ามันสำปะหลัง พร้อมบรรทุกไปรวมไว้ที่บริเวณหัวและท้ายแปลง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาลักษณะคอขวดของระบบ

3. วิจัยและพัฒนาเครื่องตัดและสับย่อยต้นมันสำปะหลังแบบติดตั้งหน้ารถแทรกเตอร์” โดยเครื่องต้นแบบจะทำการตัดและสับย่อยต้น เป็นชิ้นเล็กพ่นกลับส่งสู่พื้นดิน เพื่อให้เป็นการง่ายต่อกิจกรรมการขุด ลดโอกาสการเกิดการสูญเสียผลผลิต และช่วยให้มีการย่อยสลายเศษซากพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์กลับคืนสู่แปลงได้เร็วขึ้น

4. ร่วมกับบริษัท บี.ที.โอโตพาร์ท จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของภาคเอกชนที่นำผลงานวิจัยเครื่องวิจัย “เครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู” ไปทำการผลิตจำหน่าย สนับสนุนการขยายผลการใช้ประโยชน์ต่อยอดผลงานวิจัยข้างต้นให้เป็นต้นแบบ “เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบกึ่งอัตโนมัติ” มีความสามารถในการทำงานอยู่ในช่วง 0.7-1.0 ไร่/ชั่วโมง สามารลดจำนวนการใช้แรงงานคนลง 60 และ 24% ลดค่าใช้จ่ายลง 14% และลดการสูญเสียผลผลิตเนื่องจากการเหลือตกค้างอยู่ในดิน 2-4%

นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร นำเสนอการพัฒนา IoTs Platform สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะที่พัฒนาภายใต้โครงการประยุกต์ใช้ smart sensors และ IoTs ในการผลิตทุเรียน พร้อมกับนำเสนอการพัฒนาแอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) (นำร่องในข้าว) และนายวิชัย โอภานุกุล สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร นำเสนอการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะ (เครื่องสาง+ม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย

***************

Related
แชท
Skip to content