1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. แหนแดง แหล่งไนโตรเจนชั้นยอด สุดยอดโปรตีนชั้นเยี่ยม

แหนแดง แหล่งไนโตรเจนชั้นยอด สุดยอดโปรตีนชั้นเยี่ยม

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรประสบความความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์แหนแดง Azolla microphylla ที่ให้ธาตุอาหารมากกว่าพืชตระกูลถั่ว สามารถนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ แหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร มีลักษณะต้นใหญ่กว่าแหนแดงพันธุ์พืชเมือง ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า และขยายพันธุ์ได้รวดเร็วภายใน 30 วัน จะให้ผลผลิตแหนแดงถึงไร่ละ 3 ตัน

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (2565) ได้ศึกษาการผลิตและการตลาดพืชทางเลือกทดแทนข้าวนาปรังของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาปรังจำนวน 68 ราย โดยปลูก พืชทางเลือกทดแทน 7 ชนิด ได้แก่ ฟักทอง ฟักแฟง ปอเทือง แตงโม ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน และแหนแดง พบว่า แหนแดง เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 60 มีผลตอบแทนมากที่สุด 4,624 บาทต่อไร่ต่อรอบ รองลงมาคือ แตงโม มีผลตอบแทนสุทธิ 2,368 บาทต่อไร่ต่อรุ่น น้อยที่สุดคือ ปอเทือง มีผลตอบแทนสุทธิ 367 บาทต่อไร่ต่อรุ่น ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจผลิตแหนแดงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรเป็นจำนวนมาก

นางรัตน์ติยา พวงแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร รับนโยบายจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้ผลิตแม่พันธุ์แหนแดงเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงเพิ่มปริมาณไว้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตนเอง อีกทั้งสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ตัวอย่างเช่น นางสาวราตรี แดงอินทวัฒน์ และนายวิชาญ ขันธ์ถม เบอร์โทร 095-7712391 และ 083-8968005 ที่อยู่ 6/2 หมู่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าของวิชาญ ฟาร์ม ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตแหนแดงเพื่อจำหน่ายให้กับฟาร์มเลี้ยงเป็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ และขายออนไลน์ โดยจำหน่าย 800-1,000 กิโลกรัมต่อเดือน มีรายได้เฉลี่ย 16,000-20,000 บาทต่อเดือน

 

 

 

 

Related
แชท
Skip to content