1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. ตรวจติดตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โครงการ ̶…

ตรวจติดตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โครงการ “ต้นกล้าความดีสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง”

รมช. มนัญญาไทยเศรษฐ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจติดตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โครงการ “ต้นกล้าความดีสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” และเยี่ยมชมนิทรรศการของกรมวิชาการเกษตร ณ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเกษตรวิชญาบ้าชนกองแหะ ตำบลโป่งแล้วยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพร้อมด้วยดร. ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำชมและบรรยายสรุปงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์กับเกษตรในพื้นที่โครงการเกษตรวิชญา ซึ่งในส่วนของกรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ร่วมดำเนินการ ภายใต้แนวคิด “ศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรบนพื้นที่สูงตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรบนพื้นที่สูง และขยายผลถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพืชบนพื้นที่สูงสู่เกษตรกร โดยในปี 2561-2565 ได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตต้นแบบการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นเมืองหนาว ด้วยการใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร โดยการใช้พันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่สูง ได้จัดทำแปลงต้นแบบการปลูกมะคาเดเมีย (พันธุ์เชียงใหม่ 400 พันธุ์เชียงใหม่ 700) จำนวน 1.5 ไร่ แปลงต้นแบบการปลูกโกโก้ พันธุ์ชุมพร 1 จำนวน 1 ไร่ แปลงต้นแบบการปลูกอะโวคาโด จำนวน 1.5 ไร่ แปลงต้นแบบการปลูกพลับ จำนวน 1.5 ไร่ และแปลงต้นแบบการปลูกเกาลัดจีน จำนวน 0.5 ไร่ รวมพื้นที่ 6 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้การทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ปี 2564 มีเกษตรกร และผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม จำนวน 234 ราย ในปี 2565 เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอะราบิกาในพื้นที่ พบปัญหามอดกาแฟทำลายผลผลิตกาแฟ จึงได้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การจัดการมอดกาแฟแบบผสมผสาน ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จำนวน 20 ราย เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการผลิตกาแฟอะราบิกาต่อไป และจัดทำแปลงต้นแบบขยายผลถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร จำนวน 15 ราย โดยเป็นเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดและกาแฟอะราบิกา จำนวน 15 ราย เทคโนโลยีที่นำไปขยายผล ได้แก่ การเปลี่ยนยอดพันธุ์อะโวคาโดพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ จำนวน 12 ราย และการจัดการมอดกาแฟแบบผสมผสาน 3 ราย ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตร ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชปลอดภัย การใช้ สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชที่ดีและเหมาะสม (GAP) ชนิดพืช หอมหัวใหญ่ คะน้า กะหล่ำปลี ซาโยเต้ มะเขือเทศ แตงกวา สตรอเบอรี่ ฟักทอง พริกหวาน อะโวคาโด จำนวน 65 ราย
ผลจากการดำเนินงาน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโด ในพื้นที่ ที่ได้รับการสนับสนุนอะโวคาโด พันธุ์ดี จะสามารถเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพได้และมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จำนวน 40 ราย ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จะสามารถได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและขายได้ในราคาที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ทำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้นแบบในการผลิตพืชบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

************

Related
แชท
Skip to content