การบันทึกข้อมูลพรรณไม้อ้างอิงลงโปรแกรม BRAHMS: วงศ์ Dipterocarpaceae
#1
การบันทึกข้อมูลพรรณไม้อ้างอิงลงโปรแกรม BRAHMS: วงศ์ Dipterocarpaceae
กลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

          พรรณไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นพรรณไม้ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยและ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากความหลากของชนิดพันธุ์และคุณสมบัติของเนื้อไม้ที่หลากหลาย ทำให้มีการนามาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ต่อเรือ ไม้อัด ไม้บาง ไม้แปรรูป ชันและยางใช้อุดรอยรั่ว ของภาชนะหรืออุดเรือ ทำไต้จุดไฟ เป็นต้น การที่พรรณไม้วงศ์ยางมีประโยชน์อย่างมากมายนั้น ทำให้ต้นไม้วงศ์ยางถูกตัดมาใช้เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะถูกกาหนดเป็นไม้หวงห้าม ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 แล้วก็ตาม เป็นผลให้ความหลากชนิดและความหลากหลายของพรรณไม้วงศ์นี้ลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการพบพรรณไม้วงศ์ยางจำนวน 8 สกุล 66 ชนิด (เต็ม, 2551) จึงมีการจัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ปัจจุบันพรรณไม้อ้างอิงวงศ์ยางที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ สังกัดกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร มีจำนวน 427 ตัวอย่าง

          การจัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์พืช นอกจากต้องมีการดูแลรักษา จัดเก็บพรรณไม้ตามระบบสากล ยังต้องมีการจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ตามมาตรฐานสากลที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลและสามารถสืบค้นได้ กลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช จึงนำโปรแกรม BRAHMS ซึ่งเป็นโปแกรมสำหรับจัดการข้อมูลงานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ ที่ใช้งานกันแพร่หลายทั่วโลก มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์พืช อย่างไรก็ตามลักษณะของข้อมูลพรรณไม้ในแต่ละวงศ์ (Family) มีความจำเพาะและแตกต่างกัน คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช จึงจัดทำคู่มือการบันทึกข้อมูลพรรณไม้ลงโปรแกรม BRAHMS โดยใช้วงศ์ Dipterocarpaceae เป็นต้นแบบ สำหรับเจ้าหน้าที่หรือนักวิจัย ที่ปฏิบัติงานวิจัยเกี่ยวข้องกับความหลากหลายด้านพืช ใช้เป็นแนวทางในการจัดการข้อมูลพรรณไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไฟล์แนบ
.pdf   2564 การบันทึกข้อมูลพรรณไม้อ้างอิงลงในโปรแกรมBRAHMS.pdf (ขนาด: 4.1 MB / ดาวน์โหลด: 384)
ตอบกลับ