21-09-2021, 09:27
พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นแกล่งปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ปลุกส่วนใหญ่ ประกอบกับมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีการเชื่อมโยงการตลาด และมีสนามบินเพื่อการส่งต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญหลากหลายชนิด เช่น ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ และสนมุนไหร สร้างรายได้ให้เกษตรกรในปี 2563 มากกว่า 17,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าผลผลิตพืชสำคัญของทั้งประเทศ แต่ในด้านการผลผิตพืช เกษตรกรมักประสบปัยหาการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูหลายชนิด เนื่องจากมีการเพาะปลูกพืชอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประกอบกับสภาวะอากาศร้อนและแปรปรวน ทำให้การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งการใช้สารเคมีมากเกินไปหรือใช้ไม่ถูกต้องนอกจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ศัตรูพืชเกิดการดื้อยาและมีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมได้ กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมโนคและแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ควบคุมโรคเหี่ยวของกระชาย เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากปมในพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืช แมลงตัวห้ำตัวเบียนควบคุมแมลงศัตรูพืช ราเขียวเมตาไรเซียมควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อยและด้วงแรดมะพร้าว ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยควบคุมหลอนหลายชนิดและด้วงหมัดผัก เป็นต้น ชีวภัณฑ์เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตและสิ่งแวดล้อม และเกษตรกรยังสามารถผลิตชีวภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้เองในชุมชน