ความหลากหลายของทุเรียนพื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
#1
          พื้นที่ภาคใต้ตอนบนประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ และภูเก็ต มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงต่่าสลับกันตั้งแต่ตอนบนจนถึงตอนล่างของภาค โดยด้าน ตะวันตกมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งก่าเนิดแม่น้่าสายส่าคัญในภูมิภาค ส่วนพื้นที่ ตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดเป็นแนวเหนือ - ใต้ ส่าหรับสภาพภูมิอากาศภาคใต้ตอนบน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม

          จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว ท่าให้มีอิทธิพลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการท่าการเกษตรของภูมิภาคนี้ ซึ่งมีพืชเศรษฐกิจที่ส่าคัญของประเทศหลายชนิด อย่างไรก็ตามในพื้นที่ภาคใต้ ตอนบนยังมีความหลากหลายของพืชประจ่าถิ่นหรือพืชพื้นเมือง โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมือง ซึ่งนอกจากสภาพ พื้นและสภาพอากาศแล้ว วิถีชีวิตของคนสมัยก่อนก็เป็นส่วนส่าคัญให้เกิดความหลากหลายของทุเรียนพื้นเมือง เนื่องจากในสมัยโบราณการขยายพันธุ์ทุเรียนนิยมใช้เมล็ด ต้นไหนอร่อยถูกใจก็จะเก็บเมล็ดไปปลูก ด้วยหวังว่า จะได้ต้นที่ให้ผลอร่อยดังเดิม แต่ในความเป็นจริงทุเรียนที่ได้จากการเพาะเมล็ดย่อมมีความแตกต่างจากต้นเดิม ไม่มากก็น้อย ทุเรียนพื้นเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงถือเป็นมรดกทางพันธุกรรมที่ส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ แต่ปัจจุบันจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งสภาพแวดล้อม สภาพสังคม และเศรษฐกิจได้ส่งผล กระทบต่อทรัพยากรที่มีค่านี้ ให้มีจ่านวนลดน้อยลงและเสี่ยงต่อการสูญหายไปจากพื้นที่ได้ ทั้งสาเหตุจากภัย ธรรมชาติ และพฤติกรรมของเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่มีราคาดี เช่น ยางพารา ปาล์มน้่ามัน หรือปลูกทดแทนด้วยทุเรียนพันธุ์การค้า เช่น หมอนทอง ชะนี ก้านยาว เป็นต้น ต้นทุเรียนพื้นเมือง ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะแซมอยู่กับพืชเศรษฐกิจอื่น เช่น ยางพารา ปาล์มน้่ามัน และไม้ผล ซึ่งมีเพียง ไม่กี่ต้นในแต่ละแปลงของเกษตรกรแต่ละราย ส่วนใหญ่มีอายุต้นมากกว่า 50 ปี หลายต้นมีอายุมากกว่า 100 ปี โดยแต่ละต้นล้วนให้ผลที่แตกต่างกัน ทั้งลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปร่างผล มีทั้ง กลม แป้น รี ไข่ ขนาดผลที่มีทั้ง ขนาดเล็ก ปานกลางไปจนถึงใหญ่ ลักษณะรูปร่างหนามมีทั้ง โค้งงอ เว้า แหลม รวมทั้งความยาวและความ หนาแน่นของหนามล้วนเป็นลักษณะภายนอกที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของทุเรียนพื้นเมืองแต่ละต้น ส่าหรับลักษณะภายในก็แสดงความแตกต่างชัดเจน โดยเฉพาะ สีเนื้อ ซึ่งมีทั้งเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน เหลืองอม ส้ม ครีม ไปจนถึงขาว ปริมาณน้่าในเนื้อซึ่งถ้าที่มีปริมาณน้อยจะท่าให้เนื้อแห้ง แต่ถ้ามีมากไปจะท่าให้เนื้อเละ ลักษณะรูปทรงเมล็ด ลีบ เล็ก ใหญ่ รวมทั้งจ่านวนเมล็ดต่อผล กลิ่นซึ่งมีทั้ง อ่อน ปานกลาง แรง หรือกลิ่น เฉพาะที่ต่างจากกลิ่นทุเรียนทั่วไป และรสชาติที่มีทั้งหวานมัน หวานแหลม หรือมีรสขมปะปน เป็นต้น จาก ลักษณะความแตกต่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทุเรียนพื้นเมืองมีความหลากหลายสูง ดังนั้นโอกาสที่จะมีทุเรียน พื้นเมืองที่มีลักษณะดี คือ มีเนื้อหนา แห้ง สีเหลืองทอง เมล็ดเล็ก มีกลิ่นและรสชาติหวานมันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะต้น และมีคุณภาพในการรับประทานไม่ด้อยกว่าทุเรียนพันธุ์การค้า ที่ก่าลังรอให้มีการค้นพบ และพัฒนา ให้เป็นที่รู้จักเพื่อสร้างคุณค่าให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นได้

          จากความหลากหลายและการคัดเลือกทุเรียนพื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนซึ่งด่าเนินการส่ารวจ ในช่วง ปี 2556 – 2562 เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ถูกค้นพบและคัดเลือกมาท่าการศึกษาลักษณะสัณฐาน วิทยาประจ่าต้นไว้นั้น หากยังคงมีอีกจ่านวนไม่น้อยที่ยังไม่ถูกค้นพบให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งอาจจะก่าลังเผชิญกับ สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความคงอยู่ของทุเรียนพื้นเมืองได้ ดังนั้นการค้นหา คัดเลือกของทุเรียนพื้นเมืองที่มี ลักษณะดี ที่มีศักยภาพเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ให้ปรากฏสู่สาธารณะ ผลักดันและเพิ่มมูลค่าทรัพยากร ให้กับ ทุเรียนพื้นเมือง ช่วยให้เกษตรกรตระหนักถึงคุณค่าของทุเรียนพื้นเมือง ควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นอัตลักษณ์ ประจ่าถิ่น อีกทั้งยังเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับทุเรียนพื้นเมืองได้อีกด้วย ร่วมกับมีการวิจัยและพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่าและยกระดับทุเรียนพื้นเมืองให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่เฉพาะถิ่นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   ความหลากหลายของทุเรียนพื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน.pdf (ขนาด: 11.53 MB / ดาวน์โหลด: 2,303)
ตอบกลับ