การผลิตทุเรียนภาคใต้ตอนล่าง
#1
         ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการส่งออกทุเรียนของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก การขยายตัวของอุปสงค์การบริโภคทุเรียนในตลาดการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากตลาดการน าเข้า ของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งได้ส่งผลต่อการปรับตัวของราคาทุเรียนทั้งในตลาดส่งออกและตลาด ภายในประเทศ ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้สร้างแรงจูงใจต่อการขยายพื้นที่การเพาะปลูกและผลผลิตทั้งใน ประเทศไทยและในแหล่งผลิตทุเรียนดั้งเดิม เช่น ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังมีการ ขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในแหล่งผลิตใหม่ๆ เช่น ประเทศกัมพูชา เวียดนามและเมียนมา รวมถึงรัฐ ในภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้การเพิ่มขึ้นของอุปทานผลผลิตโดยรวมจะยังไม่ได้ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่มีแนวโน้มว่าภายในทศวรรษข้างหน้าการขยายตัวของผลผลิตทุเรียน จะมีมากขึ้น หากปัจจัยทางด้านอุปสงค์ทุเรียนในตลาดการค้าโลกมีข้อจ ากัดเกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อ ราคาตลอดจนรายได้ของเกษตรกรตามมา   ในปี 2559 พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในแหล่งผลิตที่ส าคัญ 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 1.43 ล้านไร่ หรือประมาณ 276.50 พันเฮกตาร์ โดยไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนสูงสุดประมาณ ร้อยละ 31.77 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย ร้อยละ 26.80 มาเลเซีย ร้อยละ 22.34 เวียดนาม ร้อยละ 11.83 และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 7.26  ส าหรับการเพาะปลูกทุเรียนในกัมพูชา ลาว พม่า รวมถึงในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ ออสเตรเลีย จัดเป็นแหล่งเพาะปลูกใหม่ มีพื้นที่ที่ให้ผลผลิตไม่มากและยังไม่เพียงพอกับความต้องการของ ผู้บริโภคภายในประเทศนั้น ๆ แหล่งเพาะปลูกใหม่ในประเทศดังกล่าวเป็นพันธุ์ที่น ามาจากประเทศไทย  ซึ่งได้แก่ พันธุ์หมอนทองและชะนี เป็นต้น  ฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมินิเวศของแต่ละ ประเทศ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของภูมิอากาศในแหล่งผลิตนั้น ๆ เป็นส าคัญ โดยทุเรียนของไทยส่วนมาก จะมีช่วงฤดูเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน ในมาเลเซียตะวันตกหรือในคาบสมุทรมลายาและ เวียดนามจะมีฤดูเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนของไทย ส าหรับฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนในฟิลิปปินส์จะ เริ่มช้ากว่าฤดูเก็บเกี่ยวของไทยและมาเลเซียใต้ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน สิงหาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนในอินโดนีเซียจะมีฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มจากเดือนมิถุนายนจนถึง เดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป เช่นเดียวกับฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนในมาเลเซียตะวันออกแถบเกาะบอร์เนียว 


ไฟล์แนบ
.pdf   บทที่ 1 สถานการณ์การผลิตทุเรียน.pdf (ขนาด: 278.47 KB / ดาวน์โหลด: 7,891)
.pdf   บทที่ 2 ลักษณะพฤกษศาสตร์ของทุเรียน.pdf (ขนาด: 494.72 KB / ดาวน์โหลด: 32,661)
.pdf   บทที่ 3 การปลูกทุเรียน.pdf (ขนาด: 375.59 KB / ดาวน์โหลด: 179,672)
.pdf   บทที่ 4 การขยายพันธุ์ทุเรียน.pdf (ขนาด: 120.52 KB / ดาวน์โหลด: 21,225)
.pdf   บทที่ 5 การจัดการธาตุอาหารและการให้ปุ๋ยทุเรียน.pdf (ขนาด: 352.37 KB / ดาวน์โหลด: 75,687)
.pdf   บทที่ 6 โรคของทุเรียน.pdf (ขนาด: 305.04 KB / ดาวน์โหลด: 67,846)
.pdf   บทที่ 7 แมลงศัตรูของทุเรียน.pdf (ขนาด: 482.99 KB / ดาวน์โหลด: 19,792)
.pdf   บทที่ 8 วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว.pdf (ขนาด: 264.19 KB / ดาวน์โหลด: 20,103)
ตอบกลับ