โรคทุเรียน
#1
         ในปีงบประมาณ 2562 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรเล็งเห็นถึงความสาคัญของการผลิตทุเรียน เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกทุเรียนของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากตลาดการนาเข้าของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้ส่งผลต่อการปรับตัวของราคาทุเรียนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้สร้างแรงจูงใจต่อการขยายพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนเป็นจานวนมาก เกษตรกรจึงต้องมีการดูแลรักษาให้ต้นทุเรียนมีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้พร้อมสาหรับการออกดอกติดผล และมีการป้องกันกาจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย แต่เนื่องจากทุเรียนมีศัตรูหลายชนิด และพบระบาดเป็นประจาในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วไป บางชนิดมีการระบาดรุนแรงเฉพาะในบางพื้นที่ และบางชนิดมีความรุนแรงถึงขั้นทาให้ต้นทุเรียนตายได้ ปัญหำที่สำคัญของทุเรียนที่อย่ำงหนึ่งคือปัญหำโรครำกเน่ำโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ดีในช่วงที่มีฝนตกหนักและมีความชื้นสูง แม้จะได้มีการศึกษาวิจัยแก้ปัญหานี้มากกว่า 50 ปีแล้วก็ตาม นักวิชาการของภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันระดมความคิดในการแก้ปัญหานี้และเกษตรกรพยายามดาเนินการทุกวิถีทางที่จะปราบโรคร้ายให้หมดไป นอกจากปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า และยังมีโรคที่สาคัญอีกหลายชนิดได้แก่ โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด และอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร รวมทั้งการสับสนของเกษตรกรเกี่ยวกับโรคราสีชมพูของทุเรียน และโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทาให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดโรคไม่ถูกต้อง และทาให้ต้นทุนในการผลิตสูง


ไฟล์แนบ
.pdf   โรคทุเรียน.pdf (ขนาด: 7.91 MB / ดาวน์โหลด: 37,653)
ตอบกลับ