22-03-2024, 09:28
คู่มือตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพ
สุปรานี มั่นหมาย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, ประไพ ทองระอา, นิศารัตน์ ทวีนุต, จิตรา เกาะแก้ว, กัลยกร โปร่งจันทึก, อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์, มนต์ชัย มนัสสิลา, บุณฑริก ฉิมชาติ, กนกอร บุญพา, สนธยา ขำติ๊บ และณัฐนันท์ ไกรเลิศรัตนชัย
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
สุปรานี มั่นหมาย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, ประไพ ทองระอา, นิศารัตน์ ทวีนุต, จิตรา เกาะแก้ว, กัลยกร โปร่งจันทึก, อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์, มนต์ชัย มนัสสิลา, บุณฑริก ฉิมชาติ, กนกอร บุญพา, สนธยา ขำติ๊บ และณัฐนันท์ ไกรเลิศรัตนชัย
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
จากสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีแพงและประเทศไทยต้องพึ่งพิงการนำเข้าปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโดยเฉลี่ยต้นทุนปุ๋ยเคมีคิดเป็นร้อยละ 20 ของต้นทุนการเพาะปลูกพืชทั้งหมด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ และใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเป็นการช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช สำหรับเป็นแนวทางในการลดหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีรวมถึงสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพให้แก่ภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการควบคุมคุณภาพของปุ๋ยชีวภาพให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน
การจัดทำ “คู่มือตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพ” ฉบับนี้เป็นการรวบรวมและเรียบเรียงหลักการ วิธีการและเทคนิคต่างๆ ในการตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพ และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามหลักสากลเพื่อให้นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงวิธีการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพชนิดต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และควบคุมกำกับปุ๋ยชีวภาพในท้องตลาดให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ