เทคโนโลยีการผลิตมังคุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
#1
เทคโนโลยีการผลิตมังคุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร

          ภาคใต้จัดเป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และสามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพมีรสชาติดีเมื่อเทียบกับมังคุดในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจากความมีเอกลักษณ์ในรูปร่างของผลที่สวย และมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนได้รับฉายาว่า “Queen of Fruits” ราชินีแห่งไม้ผล ดังนั้นในปัจจุบันมังคุดจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก มูลค่าปี ละมากกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งในรูปของผลสดและผลแช่แข็งและมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2555 มีมูลค่าการส่งออกมังคุดผลสด 2,874 ล้านบาท ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 4,251 ล้านบาท และปี 2557 มีมูลค่าการส่งออก 4,781 ล้านบาท สาหรับมังคุดแช่แข็งก็มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปี 2555 และปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 45 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2557 มีมูลค่าการส่งออก 55 ล้านบาท โดยมีตลาดคู่ค้ามังคุดผลสด คือ เวียดนาม จีน ฮ่องกง สาหรับตลาดคู่ค้ามังคุดผลแช่แข็ง คือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ก็พบว่ามีคู่แข่งทางด้านตลาดส่งออก คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่งมีการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะผลิตมากขึ้น ประเทศไทยจึงควรตระหนักและให้ความสาคัญกับการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศที่เป็นคู่แข่งได้ในอนาคต


ไฟล์แนบ
.pdf   2557 เทคโนโลยีการผลิตมังคุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง.pdf (ขนาด: 2.85 MB / ดาวน์โหลด: 2,731)
ตอบกลับ