คู่มือการใช้โปรแกรม การประเมินค่าความไม่แน่นอน ของการวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี
#1
คู่มือการใช้โปรแกรมการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี


       ค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ เกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ ซึ่งมีค่ามากหรือน้อยต่างกันในแต่ละห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับวิธีวิเคราะห์ ความละเอียดหรือความสามารถของเครื่องมือที่ใช้สภาวะแวดล้อมของการวิเคราะห์ รวมไปถึงความสามารถของผู้วิเคราะห์ด้วย ดังนั้น ค่าความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของผลการวิเคราะห์ ว่ามีความน่าชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดยการประเมินค่าความไม่แน่นอนมีวิธีการคำนวณได้หลายแบบ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการเป็นแบบ Bottom-up approach ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญของการประเมินค่าความไม่แน่นอนแบบ Bottom-up approach คือ การพิจารณา และรวบรวมแหล่งของคำความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียด ขั้นตอน และการคำนวณที่ค่อนข้างยุ่งยาก ชับซ้อน ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายแบบสำเร็จรูปและคู่มือสำหรับการใช้โปรแกรมประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด(รายงานในรูป P:0) และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (รายงานในรูป K:0) ในปุ๋ยเคมี ตามแนวทางการประเมินค่าความไม่แน่นอนในการวัดแบบ Botton-up approach โดยมีการอธิบายในแต่ละขั้นตอนการคำนวณ และที่มาของตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณอย่างละเอียด และชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการวิเคราะห์จนถึงการรายงานผลที่ระดับความเชื่อมั่น 95%




ไฟล์แนบ
.pdf   คู่มือการใช้โปรแกรมการประเมินค่าความไม่.pdf (ขนาด: 3.35 MB / ดาวน์โหลด: 742)
ตอบกลับ