จอกหูหนูยักษ์ วัชพืชน้ำต่างถิ่นที่รุกราน
#1
จอกหูหนูยักษ์ วัชพืชน้ำต่างถิ่นที่รุกราน
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

          จอกหูหนูยักษ์ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ เช่นเดียวกับผักตบชวาที่ถูกจัดเป็นพืชรุกรานที่สุดชนิดหนึ่งของโลก จอกหูหนูยักษ์ ถูกนำออกจากแหล่งกำเนิดครั้งแรกในปี 1939 ต่อมาไม่นาน 2 ปี พืชนี้ได้กลายเป็นวัชพืชที่ก่อให้เกิดผลกระทบในประเทศที่มีการชักนำพืชนี้เข้าไป ระดับความรุนแรงของผลกระทบแตกต่างกันไปตามสภาพนิเวศนั้นๆ ว่าเหมาะสมกับการเจริญเติบโต และการควบคุมหรือไม่ หลายประเทศในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นที่การเกษตร ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ การใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ รวมไปถึงสุขอนามัยของมนุษย์ด้วย

          สำหรับประเทศไทยได้มีการกำหนดให้จอกหูหนูยักษ์เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรูพืชกักกัน เพื่อป้องกันไม่ให้พืชนี้เข้ามาระบาดก่อให้เกิดปัญหา อย่างไรก็ตามจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้มีการนำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ จำหน่าย จ่ายแจก และหลุดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดการระบาดในบางพื้นที่ของประเทศไทย

          สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานวิจัยเกี่ยวกับศัตรูพืช และการจัดการ ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากปล่อยให้จอกหูหนูยักษ์เข้ามาระบาดในประเทศไทย จึงได้รวบรวมข้อมูลความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับจอกหูหนูยักษ์ที่มีการศึกษามาแล้วจากต่างประเทศ และบางส่วนที่มีการศึกษาในประเทศไทย เพื่อเป็นองค์ความรู้เผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ โดยสามารถตรวจสอบชนิด ทราบถึงผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการจัดการหากเกิดการระบาดในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไฟล์แนบ
.pdf   2560 จอกหูหนูยักษ์ วัชพืชน้ำต่างถิ่นที่รุกราน.pdf (ขนาด: 138.58 MB / ดาวน์โหลด: 1,918)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
จอกหูหนูยักษ์ วัชพืชน้ำต่างถิ่นที่รุกราน - โดย doa - 20-06-2023, 11:31