คู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฎิบัติการ
#1
คู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฎิบัติการ
กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืช กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

          คุณภาพเมล็ดพันธุ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะต่างๆ ของเมล็ดพันธุ์ทั้งกอง อันเป็นผลมาจากเมล็ด แต่ละเมล็ดแสดงลักษณะต่างๆ รวมกัน ลักษณะที่สำคัญของเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ได้แก่ มีความบริสุทธิ์ ทางกายภาพและความงอกสูง ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ตรงตามสายพันธุ์ มีความชื้นต่ำและสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน การที่จะทราบว่าเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพดีหรือไม่นั้น การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพ เป็นวิธีการหนึ่งที่ชี้วัดคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ เพื่อประโยชน์ในการประเมินคุณค่าเมล็ดพันทางการค้า การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ การควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามกฎหมายและการรับรองเมล็ดพันธุ์

          กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการควบคุมการออกใบอนุญาต และตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามกฎหมาย โดยห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืช กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า ทั้งเมล็ดพันธุ์ผัก พืชไร่ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะจำหน่ายสู่เกษตรกร ซึ่งเมล็ดพันธุ์ผักชีจัดเป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมล็ดพันธุ์ผักชีที่จัดจำหน่าย หรือใช้เพาะปลูกในประเทศไทยนั้นมีปริมาณมาก และมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี เมล็ดพันธุ์ผักชีเป็นเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น ในปี 2560 ประเทศไทยมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักชีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับ เมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าชนิดอื่น โดยนำเข้ามาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม แทนซาเนีย ออสเตรเลีย และอิตาลี ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 131 ล้านบาท (สำนักควบคุมพืชและ วัสดุการเกษตร, 2560)


ไฟล์แนบ
.pdf   2564 คู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฏิบัติการ.pdf (ขนาด: 1.91 MB / ดาวน์โหลด: 809)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
คู่มือการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักชีในห้องปฎิบัติการ - โดย doa - 16-06-2023, 10:20