05-10-2022, 08:28
เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักสดที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่เพาะปลุกส่วนใหญ่ ประกอบกับเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีการเชื่อมโยงทางการตลาด และมีสนามบินเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรปลุกพืชเศรษฐกิจสำคัญหลากหลายชนิดรวมถึงข้าวโพดฝักสด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน และข้าวโพดฝักอ่อน ในปี 2564 ผลผลิตข้าวโพดฝักสดสร้างรายได้จากการส่งผลผลิตจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 7,000 ล้านบาท แต่ในด้านการผลิตข้าวโพดฝักสดนั้นพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องการเข้าทำลายของศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มากขึ้น ขาดการจัดการศัตรูพืชที่ถูกวิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จึงทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นได้ ในขณะที่ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง กรมวิชาการเกษตรมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง อาทิ วิธีการเพาะปลูก การจัดการแปลงและฤดูกาลผลิต การเก็บเกี่ยวและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญ เป็นเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดฝักสดที่เหมาะสมต่อพื้นที่ในแปลงของเกษตรและช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชได้
พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่เพาะปลุกส่วนใหญ่ ประกอบกับเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีการเชื่อมโยงทางการตลาด และมีสนามบินเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรปลุกพืชเศรษฐกิจสำคัญหลากหลายชนิดรวมถึงข้าวโพดฝักสด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน และข้าวโพดฝักอ่อน ในปี 2564 ผลผลิตข้าวโพดฝักสดสร้างรายได้จากการส่งผลผลิตจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 7,000 ล้านบาท แต่ในด้านการผลิตข้าวโพดฝักสดนั้นพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องการเข้าทำลายของศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มากขึ้น ขาดการจัดการศัตรูพืชที่ถูกวิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จึงทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นได้ ในขณะที่ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง กรมวิชาการเกษตรมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง อาทิ วิธีการเพาะปลูก การจัดการแปลงและฤดูกาลผลิต การเก็บเกี่ยวและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญ เป็นเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดฝักสดที่เหมาะสมต่อพื้นที่ในแปลงของเกษตรและช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชได้