22-03-2024, 09:09
การผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบใหม่ในระดับห้องปฏิบัติการ
ประไพ ทองระอา, ณัฐนันท์ ไกรเลิศรัตนชัย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, แววตา พลกุล, วนิดา โนบรรเทา และศุภกาญจน์ ล้วนมณี
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ประไพ ทองระอา, ณัฐนันท์ ไกรเลิศรัตนชัย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, แววตา พลกุล, วนิดา โนบรรเทา และศุภกาญจน์ ล้วนมณี
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ประเทศไทยมีทรัพยากรชีวภาพจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ กรมวิชาการเกษตรเป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพสูงสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชได้ เช่น ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ (Nitrogen fixing blue-green algae) สกุล Hapalosiphon มีศักยภาพในการเลี้ยงขยายเพื่อเพิ่มปริมาณชีวมวลได้ดี จัดเป็นแหล่งชีวมวลที่สำคัญที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหมด (renewable biomass source) สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช หรือสารเพิ่มประสิทธิภาพพืชได้ วิธีการผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Hapalosiphon แบบใหม่ในระดับห้องปฏิบัติการให้มีปริมาณสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีชีวิตเพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนปุ๋ยชีวภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 105 โคโลนีต่อน้ำหนักปุ๋ยชีวภาพ 1 กรัม จะทำให้สามารถนำไปเลี้ยงขยายเพื่อเพิ่มปริมาณชีวมวลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น