การผลิตและการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
การผลิตและการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

          เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี (Neonothopanus nambi (Speg.) R.H. Petersen & Krisai) ค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย โดยศาสตราจารย์ ดร.วีระศักด์ิ และคณะ เมื่อปี 2544 ในเขตพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนืองมาจากพระราชดำริสมเด็จพระกนิ ษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โคกภูตากา อำเภอเวียงเกา จังหวัดขอนแก่น ลักษณะคล้ายเห็ดนางรมแต เป็นเห็ดพิษในสภาพตอนกลางวัน ก้าน ดอกและครีบมีสีขาว แต่เมื่อในสภาพกลางคืนหรือที่ไม่มีแสงดอกเห็ดจะเปล่งแสงสีเขียวอมเหลือง (ภาพที่ 1) สุรีย์พร (2550) ได้ศึกษาข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วน ITS1-5.8S-ITS2 ของ rDNA ของเห็ดเรื องแสง ที่พบในเขตโคกภูตากา ได้แก่  ไอโซเลท PW1 และไอโซเลท PW2 กับไอโซเลทที่พบในเขต มหาวิทยาลัยขอนแก น (KKU) อีก 1 ไอโซเลท (ภาพที่ 2) พบว่าเห็ดเรืองแสงทั้ง 3 ไอโซเลท มีความเหมือนกับเห็ดเรืองแสง N. nambi มาก ด้วยค่า similarity ที่ค่อนข้างสูงถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบ ลักษณะรูปร่าง และสีของดอก (Anonymous, 2006) และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดเรืองแสง (Prof. Dr. Roy Watling, สวนพฤกษศาสตร์ Kew, Surley, สหราชอาณาจักร Dr. Matin Kirchmair, Institute Microbiology, University of Innsbruck, Innsbruck, Austria และ Dr. J.M. Monclavo, Centre for Biodiversity and Conservation Biology, Toronto, Canada สรุปได้ว่าเห็ดเรืองแสงทั้ง  3 ไอ โซเลท นี้ คือ เห็ดเรืองแสงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Neonothopanus nambi (Speg.) R.H. Petersen & Krisai ซึ่ง Petersen and Krisai-Greilhuber (1999) ได้รายงานเกี่ยวกับ เห็ดเรืองแสง N. nambi ว่าเป็นเห็ดที่สามารถเรืองแสงสีเขียวอมเหลือง และ Anonymous (2006) ได้รายงาน ลักษณะทางสัณฐานของเห็ดเรืองแสงชนิดนี้ไว้แล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานโครงการ อพ.สธ. ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเห็ดเรืองแสงชนิดนี้ว่า “เห็ดสิรินรัศมี” เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ได้ มีการสำรวจพบ  และมีการศึกษาวิจัยถึงการบ่งชี้และการนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะด้านการเกษตร และการแพทย์ มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการสนองพระราชดำริโครงการ อพ.สธ. ในด้านการปกปักพันธุกรรม พืชและการใช้ประโยชน์  


ไฟล์แนบ
.pdf   การผลิตและการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.pdf (ขนาด: 3.2 MB / ดาวน์โหลด: 5,813)
ตอบกลับ