การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
#1
          มะม่วงเป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ผลดีในทุกภาคของประเทศไทย  ยกเว้นภาคใต้ซึ่งออกดอกติดผลค่อนข้างยาก  ในปี 2554 มีพื้นที่ให้ผลผลิต 2,019,980 ไร่  และผลผลิตรวม 2,793,640 ตัน เฉลี่ย 1,383 กิโลกรัมต่อไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2555) แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา  ราชบุรี  อุทัยธานี  พิจิตร  พิษณุโลก  เชียงใหม่  นครราชสีมา  ขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์   พันธุ์มะม่วงที่เป็นการค้าแบ่งเป็น 2 ประเภท สำหรับรับประทานผลสด ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้  เขียวเสวย  ฟ้าลั่น  แรด  หนังกลางวัน  และสำหรับแปรรูป ได้แก่ มะม่วงแก้ว  ปี 2554 มูลค่าส่งออกมะม่วงของประเทศไทยรวม 1,576 ล้านบาท  โดยส่งออกเป็นมะม่วงสดแช่เย็นมูลค่า 699.9 ล้านบาท และมะม่วงกระป๋องมูลค่า 876.1 ล้านบาท  ตลาดส่งออกมะม่วงสดที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น เวียตนาม มาเลเซีย  เกาหลีใต้ จีน ลาว ฮ่องกง ส่วมมะม่วงกระป๋องตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่  ญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา  สหราชอาณาจักร  ออสเตรเลีย  ฝรั่งเศส  เยอรมนี(ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, 2555) ชนิดของมะม่วงสดที่ส่งออกมากได้แก่ เขียวเสวย  หนังกลางวัน  โชคอนันต์  น้ำดอกไม้ แรด และอกร่อง


ไฟล์แนบ
.pdf   บทนำ.pdf (ขนาด: 77.7 KB / ดาวน์โหลด: 1,506)
.pdf   บทที่ 1 การปลูกมะม่วงและดูแลรักษา.pdf (ขนาด: 65.12 KB / ดาวน์โหลด: 4,450)
.pdf   บทที่ 2 การจัดการเพื่อให้ได้มะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก.pdf (ขนาด: 199.88 KB / ดาวน์โหลด: 4,258)
.pdf   บทที่ 3 ศัตรูที่สำคัญของมะม่วง.pdf (ขนาด: 663.45 KB / ดาวน์โหลด: 28,738)
.pdf   บทที่ 4 ต้นทุนการผลิตมะม่วง.pdf (ขนาด: 113.57 KB / ดาวน์โหลด: 1,129)
.pdf   บทที่ 5 การปรับปรุงองล์ความรู้.pdf (ขนาด: 830.91 KB / ดาวน์โหลด: 1,059)
.pdf   เอกสารอ้างอิง.pdf (ขนาด: 55 KB / ดาวน์โหลด: 772)
ตอบกลับ