การจัดการศัตรูส้มโอเพื่อการส่งออก
#1
การจัดการศัตรูส้มโอเพื่อการส่งออก
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

          ส้มโอ [Citrus maxima (Burm.) Merr.] เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาค เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออก นอกจากนี้ส้มโอยังมีหลายพันธุ์ ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีรสชาติและลักษณะที่แตกต่างกัน พันธุ์ที่นิยม ได้แก่ ทองดี ขาวแป้น ขาวพวง ขาวแตงกวา และทับทิมสยาม เป็นต้น ข้อดีของส้มโอที่ทาให้เกษตรกรนิยมปลูกกันมากอย่างหนึ่งคือ สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวได้พอสมควร และเป็นไม้ผลที่มีอายุหลังการเก็บเกี่ยวนาน ซึ่งเป็นข้อดีในด้านการตลาด โดยเฉพาะในการส่งออกส้มโอไปต่างประเทศ พื้นที่ปลูกส้มโอของประเทศไทยในปี 2558 มีประมาณ 167,000 ไร่ มีปริมาณผลผลิต 232,965 ตัน และมีมูลค่าผลผลิต 7,558 ล้านบาท นอกจากการบริโภคส้มโอภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกส้มโอไปต่างประเทศได้ ในปี 2557 มีปริมาณส่งออกส้มโอ 12,523 ตัน มูลค่าการส่งออก 228 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และแคนาดา ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ตามการส่งออกส้มโอไปยังตลาดสำคัญของโลก เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ก็ยังมีข้อจากัด เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคของส้มโอ โรคที่เป็นปัญหาในการส่งออก คือโรคแคงเคอร์ ที่สามารถติดไปกับผลส้มโอได้ ซึ่งโรคแคงเคอร์นี้เป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา การส่งออกส้มโอไปยังประเทศดังกล่าวจะต้องมีการตรวจรับรองส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ว่า การนำผลส้มโอเข้าสหภาพยุโรปจากประเทศที่มีโรคแคงเคอร์และไม่มีพื้นที่ปลอดโรคนั้น จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้


ไฟล์แนบ
.pdf   2555 การจัดการศัตรูส้มโอเพื่อการส่งออก.pdf (ขนาด: 24.15 MB / ดาวน์โหลด: 1,086)
ตอบกลับ