การผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบใหม่ ในระดับห้องปฏิบัติการ
#1
การผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแบบใหม่ในระดับห้องปฏิบัติการ
ประไพ ทองระอา, ณัฐนันท์ ไกรเลิศรัตนชัย, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, แววตา พลกุล, วนิดา โนบรรเทา และศุภกาญจน์ ล้วนมณี
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

          ประเทศไทยมีทรัพยากรชีวภาพจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ กรมวิชาการเกษตรเป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพสูงสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชได้ เช่น ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ (Nitrogen fixing blue-green algae) สกุล Hapalosiphon มีศักยภาพในการเลี้ยงขยายเพื่อเพิ่มปริมาณชีวมวลได้ดี จัดเป็นแหล่งชีวมวลที่สำคัญที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหมด (renewable biomass source) สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช หรือสารเพิ่มประสิทธิภาพพืชได้ วิธีการผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Hapalosiphon แบบใหม่ในระดับห้องปฏิบัติการให้มีปริมาณสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีชีวิตเพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนปุ๋ยชีวภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 105 โคโลนีต่อน้ำหนักปุ๋ยชีวภาพ 1 กรัม จะทำให้สามารถนำไปเลี้ยงขยายเพื่อเพิ่มปริมาณชีวมวลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   การผลิตหัวเชื้อสาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงินแบบใหม่ในระดับห้องปฏิบัติการ.pdf (ขนาด: 748.05 KB / ดาวน์โหลด: 114)
ตอบกลับ