มะพร้าวกะทิ
#1
มะพร้าวกะทิ
ศูนย์วิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

          มะพร้าวกะทิเป็นที่นิยมบริโภคเป็นของหวาน มีเนื้อหนาฟู อ่อนนุ่ม และหวานมัน อร่อยและมีราคาแพง สำหรับประเทศไทยผลผลิตยังไม่พอเพียงที่จะบริโภคภายในประเทศ จึงยังไม่มีการส่งออกทั้งๆ ที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการ มะพร้าวกะทิไม่ได้จัดเป็นมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ในธรรมชาติไม่มีต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ แต่ผลมะพร้าวกะทิจะเกิดรวมกับผลปกติในมะพร้าวธรรมดาทั่วไปบางต้นเท่านั้น และไม่ได้เกิดจากทุกผลในต้นนั้น มะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยีนเพียงคู่เดียว และลักษณะกะทิเป็นลักษณะด้อย (recessive) ส่วนลักษณะธรรมดาเป็นลักษณะขม (dominance) ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิ ถ้าปลูกในที่ปลอดจากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดาผลผลิตที่ได้จะเป็นไปตามกฎของเมนเดล จะได้ผลมะพร้าวเป็นกะทิ 25% แต่ในสภาพโดยทั่วไปที่พบต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจะขึ้นปะปนกับมะพร้าวธรรมดา จึงทำให้ผลผลิตจะเป็นกะทิ ในบางทลายและปริมาณผลที่เป็นกะทิจะได้ไม่ถึง 25%

          จากการศึกษาค้นคว้าการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิของกรมวิชาการเกษตร จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในโลก ที่ศึกษาเรื่องการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ จนกระทั่งได้พันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสม 84 - 1 และ 84 - 2 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อเพิ่มรายได้ในการทำสวนมะพร้าว ซึ่งจะได้รายได้สูงกว่าการทำสวนมะพร้าวธรรมดา 3 - 4 เท่า นอกจากนั้นยังได้พันธุ์มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้มีความหลากหลาย ได้แก่ มะพร้าวกะทิพันธุ์ต้นสูง กึ่งสูง และต้นเตี้ย ซึ่งมีสีต่างๆ ได้แก่ เขียว เหลือง น้ำตาล และแดง สามารถสร้างเป็นสวนแม่พันธุ์ผลิตพันธุ์มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้เป็นพันธุ์การค้า


ไฟล์แนบ
.pdf   2555 มะพร้าวกะทิ.pdf (ขนาด: 5.75 MB / ดาวน์โหลด: 446)
ตอบกลับ