การจัดการศัตรูมะพร้าว - printable_version +- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share) +-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62) +--- คลังข้อมูล: มาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=64) +--- เรื่อง: การจัดการศัตรูมะพร้าว (/showthread.php?tid=2555) |
การจัดการศัตรูมะพร้าว - doa - 20-06-2023 การจัดการศัตรูมะพร้าว สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช มีหน้าที่ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลองและพัฒนาวิชาการเกษตรด้านอารักขาพืชซึ่งเป็นหน้าที่หลักข้อหนึ่งของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ด้านวิชาการในการป้องกัน ควบคุม หรือการจัดการศัตรูพืช เป็นการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชปลูกให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมีมูลค่าและความปลอดภัยสูงขึ้นโดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศัตรูพืชในการผลิตมะพร้าว เพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่ตลาดต้องการทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
ปี 2557 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวรวม 1.3 ล้านไร่ ผลผลิตรวมกว่า 1 ล้านตัน เป็นประเทศที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของเนื้อที่ปลูกและผลผลิตสูงสุดของโลก สำหรับการผลิตมะพร้าวเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีตามที่ต้องการ และให้มีปริมาณเพียงพอต่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศนั้นจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูกจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว นอกจากการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ดิน น้ำ ปุ๋ยให้เหมาะสม ศัตรูพืชยังเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องมีการจัดการให้ถูกต้องและเหมาะสมในแปลงปลูกอีกด้วย ในปัจจุบันศัตรูมะพร้าวที่พบมีทั้งโรค แมลง ไร สัตว์ศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผลผลิตมะพร้าวไม่ได้คุณภาพตามต้องการ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชจึงได้จัดทำเอกสารวิชาการ “การจัดการศัตรูมะพร้าว” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลศัตรูพืชของมะพร้าวการบริหารจัดการศัตรูพืชที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตมะพร้าวที่มีคุณภาพ โดยรวบรวมทบทวน ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้นำข้อมูลมาประมวลและกลั่นกรองให้ถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงาน เพื่อจัดเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้องและมีความเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารวิชาการฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนำไปใช้ในการจัดการศัตรูมะพร้าวอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
|