คลังเอกสารความรู้
เทคโนโลยีระบบการผลิตพืชหลังนาจังหวัดเชียงใหม่ - printable_version

+- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share)
+-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62)
+--- คลังข้อมูล: วิจัยด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=63)
+--- เรื่อง: เทคโนโลยีระบบการผลิตพืชหลังนาจังหวัดเชียงใหม่ (/showthread.php?tid=2540)



เทคโนโลยีระบบการผลิตพืชหลังนาจังหวัดเชียงใหม่ - doa - 19-06-2023

เทคโนโลยีระบบการผลิตพืชหลังนาจังหวัดเชียงใหม่
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร

          จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด อาทิ เช่น ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก และพืชไร่ชนิดต่างๆ เนื่องจากมีสภาพภูมินิเวศที่แตกต่างกันตั้งแต่พื้นที่สูงจนถึงพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ราบลุ่มเขตชลประทาน ที่มีพื้นที่กว่า 4 แสนไร่ โดยเกษตรกรจะปลูกข้าวเป็นพืชหลักและตามด้วยพืชหลังนาที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดต่างๆ เช่น พืชตระกูลถั่ว พืชไร่ และพืชผัก ซึ่งในระบบดังกล่าวมีการจัดการในกระบวนการผลิตที่หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่การคัดเลือกชนิดพืชที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ การใช้ปัจจัยการผลิต รวมถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาด การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลต่อระบบการผลิตพืชอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรจึงต้องปรับตัวเพื่อรักษาระดับผลผลิต รายได้ เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน การนำผลการศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ร่วมกับประสบการณ์ของเกษตรกรจึงเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชและแก้ปัญหาได้

          การจัดการความรู้ (knowledge management) ด้านเทคโนโลยีระบบการผลิตพืชหลังนาจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากรของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการจัดการความรู้ร่วมกันมีการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับมาเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานต่อไป จึงได้จัดทำเอกสารวิชาการฉบับนี้ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยสถานการณ์การผลิต พื้นที่ แหล่งปลูก พันธุ์ ช่วงเลาการปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การตลาด และผลงานวิจัยที่ผ่านมาของกรมวิชาการเกษตร เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับปรุงคุณภาพให้ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค