ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน - printable_version +- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share) +-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62) +--- คลังข้อมูล: วิจัยด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=63) +--- เรื่อง: ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (/showthread.php?tid=2538) |
ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน - doa - 19-06-2023 ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร ระบบการปลุกพืชของเกษตกรภาคเหนือตอนบน จำแนกตามลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ได้ 3 สภาพ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ดอน และพื้นที่สูง จากปัญหาการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรของเหนือตอนบน มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ระบบการผลิตพืชจึงเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของพื้นที่ ส่วนใหญ่จึงปลูกพืชในรูปแบบพืชหมุนเวียนตลอดปี ตามสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและศักยภาพของพื้นที่เกษตรกร ในสภาพพื้นที่ลุ่ม พืชที่เกษตกรนิยมปลุกหลังการปลูกข้าวซึ่งเป็นระบบการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว-ถั่วเหลือง ข้าว-ถั่วลิสง ข้าว-หอมแดง ข้าว-หอมหัวใหญ่ ข้าว-ข้าวโพดหวาน ข้าว-กระเทียม ข้าว-มันฝรั่ง-พืชผัก และข้าว-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยการปลูกพืชครั้งที่สองเป็นการปลูกหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งเน้นผลผลิตและผลตอบแทนเป็นหลัก ส่วนพื้นที่ดอนเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง และถั่วลิสง ยกเว้นพื้นที่ที่มีการกระจายของฝน ซึ่งเอื้อต่อการปลูกพืชตาม เช่น ถั่วเหลือง-ถั่วเหลือง ถั่วลิสง-ถั่วลิสง ถั่วเหลือง-ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ถั่วลิสง และข้าวโพดหวาน-ข้าวโพดหวาน ในพื้นที่สูงเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกไม้ผล เช่น ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ มะม่วง อะโวคาโด ชา และกาแฟ เป็นต้น ผลกระทบต่อสมดุลของระบบการผลิต สภาพแวดล้อม จากการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากและไม่เป็นไปตามหลักวิชาการเกษตร งานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเชิงระบบ จึงต้องมีองค์ประกอบในการศึกษาสภาพพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร และการจัดการระบบการปลุกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ได้แก่ ระบบการปลุกพืชในพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ดอน พื้นที่สูง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการผลิตในระบบการปลุกพืชมาใช้ เอกสารวิชาการระบบการปลุกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้รวบรวมแนวทางและวิธีการของการวิเคราะห์พื้นที่เชิงระบบ จากข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ และประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานวิจัยในพื้นที่จริง นำมาสังเคราะห์และรวบรวมไว้ สำหรับเป็นแนวทางการทำงานวิจัยระบบการปลูกพืชในพื้นที่เกษตรกร
|