คลังเอกสารความรู้
ห้อม พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในเขตภาคเหนือตอนบน - printable_version

+- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share)
+-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62)
+--- คลังข้อมูล: พันธุ์พืชและปัจจัยผลิต (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=61)
+--- เรื่อง: ห้อม พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในเขตภาคเหนือตอนบน (/showthread.php?tid=2537)



ห้อม พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในเขตภาคเหนือตอนบน - doa - 19-06-2023

ห้อม พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในเขตภาคเหนือตอนบน
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร

          ห้อมเป็นพืชที่ขึ้นทั่วไปในป่าธรรมชาติที่มีความชุ่มชื้น เกษตรกรเก็บส่วนยอดและใบห้อมจากป่ามาใช้ประโยชน์ ในการย้อมผ้าหม้อห้อมตามวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ผ้าห้อมที่ย้อมสีธรรมชาติมีจุดเด่น คือ ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมีสำหรับผู็ที่เป็ฯโรคภูมิแพ้ ใช้ได้นานระบายอากาศได้ดีไม่ร้อนเกินไป ไม่เปื้อนง่าย จึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันห้อมที่พบในธรรมชาติเหือน้อยลงหรืออาจสูญพันธุ์ในอนาคต แต่ความต้องการในการผลิตเสื้อผ้าหม้อห้อมมากขึ้น ทำให้ขาดวัตถุดิบสำหรับย้อมผ้าจนต้องนำห้อมสดจากแหล่งอื่นหรือใช้สารเคมีย้อมผ้าทดแทนทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของผ้าหม้อห้อม กลุ่มผู้ผลิตผ้าหม้อห้อมจึงต้องการให้เกษตรกรปลูกห้อมในเชิงการค้าเพิ่มมากขึ้น แต่การผลิตของเกษตรกรยังมีข้อจำกัด เช่น ขาดพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตห้อมที่เหมาะสม

          การจัดการความรู้ (Knowledge management) ในห้อมพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพเขตภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากรของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการจัดการความรู็ร่วมกัน มีการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับมาเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานต่อไป จึงได้จัดทำเอกสารวิชาการฉบับบนี้มีเนื้อหาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับห้อม ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ ลักษณะพฤกษศาสตร์ พันธุ์ วิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการนำไปใช้ประโยชน์ หวังว่าหนังสือเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในการที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการผลิตห้อมอย่างยั่งยืน และสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม รวมถึงการส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรทำให้สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน