หลักปฏิบัติที่ดีของการใช้สารรมฟอสฟีน - printable_version +- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share) +-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62) +--- คลังข้อมูล: มาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=64) +--- เรื่อง: หลักปฏิบัติที่ดีของการใช้สารรมฟอสฟีน (/showthread.php?tid=2512) |
หลักปฏิบัติที่ดีของการใช้สารรมฟอสฟีน - doa - 16-06-2023 หลักปฏิบัติที่ดีของการใช้สารรมฟอสฟีน สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร ผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว งา เดือย กาแฟ และพืชสมุนไพร เป็นต้น ผลิตผลเกษตรเหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากของประเทศไทย ทั้งในด้านการบริโภคและการส่งออก ผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวมักจะถูกทำลายให้ได้รับความเสียหายจากศัตรูผลิตผลเกษตรชนิดต่างๆ ได้แก่ แมลงศัตรูผลิตผลเกษตร เชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ สารพิษจากเชื้อรา และสัตว์ศัตรูผลิตผลเกษตร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายโดยการสูญเสียน้ำหนัก นอกจากจะทำลายผลผลิตโดยตรงแล้ว ศัตรูผลิตผลเกษตรบางชนิด เช่น แมลง ยังมีการขับถ่ายของเสียออกมาทำให้มีกลิ่นเหม็น ตัวอ่อนแมลงบางชนิดยังทิ้งคราบหลังการลอกคราบไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายด้านคุณภาพโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศมีข้อกำหนดไว้ว่าผลิตผลเกษตรที่นำเข้าต้องปราศจากแมลงที่มีชีวิตอยู่เลย และเมื่อมีการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศในด้านสินค้า การบริการ และการลงทุน ประเทศคู่ค้าจึงใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่เข้มงวดมาใช้ ทำให้เกิดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันความเสียหายและสูญเสียที่จะเกิดขึ้น การจัดการผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องนำความรู้และวิทยาการหลายสาขามาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการเก็บรักษาผลิตผลให้ปลอดภัยและมีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอในระหว่างที่เก็บรักษาไว้ สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญในด้านเทคนิคการใช้สารรมในการกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว จึงได้จัดการฝึกอบรมนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนำไปเผยแพร่ ใช้เป็นแนวทางในการเก็บรักษาผลิตผลให้มีคุณภาพดี ลดความเสียหาย ลดการปนเปื้อนระหว่างการเก็บรักษา และเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลผลิตการเกษตรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
|