การอ่านและการตีความหมายใบรายงานผลการสอบเทียบ - printable_version +- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share) +-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62) +--- คลังข้อมูล: มาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=64) +--- เรื่อง: การอ่านและการตีความหมายใบรายงานผลการสอบเทียบ (/showthread.php?tid=2497) |
การอ่านและการตีความหมายใบรายงานผลการสอบเทียบ - doa - 15-06-2023 การอ่านและการตีความหมายใบรายงานผลการสอบเทียบ กองการยาง กรมวิชาการเกษตร กองการยาง กรมวิชาการเกษตร มีภารกิจ ตาม พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาง ให้เป็นระบบ ครบวงจร ตั้งแต่ การผลิต การค้า และการแปรรูปยางตลอดจนการตลาดยางให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และเกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ผู้ส่งยางต้องส่งยางที่มาตรฐาน ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งยางที่ได้มาตรฐาน นั้นต้องวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยาง จากห้องปฏิบัติการทดสอบยาง ที่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต (กรมวิชาการเกษตร) ซึ่งการออกใบอนุญาต ต้องมีการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยาง หากใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยางรวมทั้ง คุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน ตรงตามกำหนดในกฎกระทรวง ก็สามารถออกใบอนุญาตได้
สำหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยาง เครื่องมือทดสอบ มีหลายชนิด อาทิ เช่น เตาอบ เครื่องชั่ง เครื่องทดสอบยางอ่อนตัว เครื่องทดสอบความหนืด เป็นต้น ดังนั้น เครื่องมือวัดดังกล่าว ต้องมีการสอบเทียบ และรายงานผลการสอบเทียบ เพื่อบ่งบอกถึง ความสามารถในการวัด ที่ถูกต้อง ของเครื่องมือวัด ซึ่งผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยาง ต้องมีความรู้ในการอ่านตีความ และประเมินเครื่องมือวัดหลังสอบเทียบ ว่าสามารถใช้งานได้จริง แต่ความรู้การอ่านตีความผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด ของบุคลากรในหน่วยงานยังมีความเข้าใจอาจจะไม่ครบถ้วน และแนวทางปฏิบัติอาจแตกต่างกัน
ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอกสารวิชาการ ความรู้ และประสบการณ์จากการเป็นผู้ตรวจประเมิน มาเขียนเป็นคู่มือเล่มนี้ขึ้น ชื่อเรื่อง “การอ่านและการตีความหมายใบรายงานผลการสอบเทียบ” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานทั้งที่เป็นข้าราชการก็ดี พนักงานราชการก็ดี ใช้เป็นแนวทางในการตรวจประเมินหรือนำความรู้ เพื่อตรวจสอบ เครื่องมือวัดในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานต่อไป
|