คลังเอกสารความรู้
การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้าในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - printable_version

+- คลังเอกสารความรู้ (https://www.doa.go.th/share)
+-- คลังข้อมูล: การจัดการความรู้ KM (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=62)
+--- คลังข้อมูล: วิจัยด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร (https://www.doa.go.th/share/forumdisplay.php?fid=63)
+--- เรื่อง: การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้าในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (/showthread.php?tid=2478)



การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้าในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง - doa - 28-09-2022

การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้าในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

         การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้ำในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นเอกสารวิชาการที่ได้จัดทำขึ้นตามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดการความรู้ (KM Team) ปี 2565 โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 อุบลราชธานี มีเนื้อหา 5 บท โดยบทที่ 1 ข้อมูลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยเนื้อหาข้อมูลด้านกายภาพ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ข้อมูลด้านการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บทที่ 2 แนวคิดระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ประกอบด้วยเนื้อหาหลักการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่สอง และขั้นที่สาม เป็นต้น บทที่ 3 การปลูกพืชหลังนาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยเนื้อหาวิธีการปลูกพืชหลังนาชนิดต่าง ได้แก่ 3.1 การปลูกมันแกวหลังนา 3.2 การปลูกถั่วลิสงหลังนา 3.3 การปลูกถั่วเขียวหลังนา 3.4 การปลูกข้าวโพดฝักสดหลังนา 3.5 การปลูกมันเทศหลังนา บทที่ 4 ความต้องการน้ำของพืชหลังนา และแหล่งน้ำในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วยเนื้อหา คือ ความต้องการน้ำของพืชไร่ชนิดที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฝักสด งา เป็นต้น รวมถึงชนิดของแหล่งน้ำชนิดต่างๆ ในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ บทที่ 5 การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้ำในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ นับเป็นบทสำคัญหลักของเอกสารวิชาการเรื่อง การผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้ำในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยคำแนะนำ ขั้นตอนการการผลิตพืชในพื้นที่นาโดยใช้แหล่งน้ำในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ รูปแบบการให้น้ำแบบต่างๆ รวมทั้งข้อดี ข้อเสีย ของรูปแบบการให้น้ำแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำพืชในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่