ประวัติ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี

ด้วยกรมวิชาการเกษตรพิจารณาเห็นว่า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Hub Center) และเพื่อให้มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรทั้งระบบ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 38 มาตรา 39 แห่งระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงให้ ตั้งกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช เป็นการภายในโดยให้มีฐานะเทียบเท่ากอง ขึ้นกับอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ได้รับมอบหมาย ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตรที่ 2425/2558 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 โดยกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช มีอำนาจดังนี้

                1.1 ศึกษา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
                1.2 วางแผนการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์  
                1.3 ให้บริการตรวจสอบเพื่อรับรองระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และสุขอนามัยพืชของเมล็ดพันธุ์พืช ให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
                1.4 ให้บริการวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร เอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
                1.5 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          เมล็ดพันธุ์ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 หมายความว่า “เมล็ด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่ใช้เพาะปลูก หรือใช้ทำพันธุ์ เช่น ตอ หน่อ เหง้า กิ่ง แขนง ตา ราก หัว ดอก หรือผล”

จากนั้นมีการปรับหน้าที่และการแบ่งงานภายในกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร 752/2559 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ได้จัดตั้ง ตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช จำนวน 5 ศูนย์ ดังนี้
3.1 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลำปาง จังหวัดลำปาง
3.2 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชเลย จังหวัดเลย
3.3 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
3.4 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี จังหวัดลพบุรี
3.5 ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ต่อมา ภายใต้คำสั่งกรมวิชาการเกษตรที่ 1746/2561 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2561 เรื่อง ปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบและการปฏิบัติงานของกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี