อัญชัน พันธุ์เทพรัตนไพลิน 63
ประวัติ
อัญชันพันธุ์เทพรัตนไพลิน 63 คัดได้จากอัญชันพันธุ์ปลูกทั่วไป ซึ่งมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะดอก ดําเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์พืชจนถึงรับรองพันธุ์
ปี 2554-2557 คัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และปี 2559 ทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร จังหวัดอ่างทอง ปี 2561 ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัย
ปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เป็นประเภทพันธุ์แนะนํา และได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์อัญชันว่า “เทพรัตนไพลิน 63”
ลักษณะประจําพันธุ์/ลักษณะพฤกษศาสตร์
ต้นไม้เถา พันเลื้อย
ใบ ใบประกอบอบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 5-7 ใบย่อยรูปรี หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ
ลําต้น ไม้พันเลื้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มี 5 และ 7 ใบย่อย ใบรูปรี ดอกรูประฆัง
ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ รูประฆัง กว้าง 3.78 ซม. ยาว 5.3 ซม. ใบประดับบ่อยรูปกลม กลับดอก 5 กลีบ สีน้ำเงินเข้ม (blue group N95 A) กลีบดอกชั้นนอกหรือกลีบกลาง กว่้าง 3.36 ซม. ยาว 4.92 ซม. ก้านดอกยาว 0.38 ซม.
ผล ผลแห้งแตก รูปขแบขนานคล้ายแถบ สีน้ำตาลซีด กว้าง 1.1 ซม. ยาว 9.78 ซม.
เมล็ดพันธุ์ เมล็ดจำนวน 5-8 เมล็ดต่อผล รูปขอบขนาน ผิวเปลือกเมล็ดมีรอยเว้า เมล็ดสีน้ําตาลเกือบดํา มีลายบนเปลือกเมล็ด
อายุเก็บเกี่ยวครั้งแรกหลังปลูก 28 วัน
ลักษณะเด่น
1. ลักษณะดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ ซ้อนเวียน
2. ผลผลิตดอกสดเฉลี่ย 2,122 กิโลกรัมต่อไร่
3. เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกเร็วกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 6 วัน
4. ปริมาณแอนโทไซยานินรวมมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ําหนักกลีบดอกสด 100 กรัม
ข้อควรระวัง หรือข้อจํากัด
1. ไม่ควรปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขัง
2. กรณีปลูกเก็บเมล็ดพันธุ์ควรปลูกห่างจากบริเวณที่มีการปลูกพันธุ์อื่นเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์และให้ได้เมล็ดตรงตามพันธุ์
การปลูกดูแลรักษา
การเตรียมดิน
การเตรียมกล้ํา
การปลูก
การให้น้ำ
การให้ปุ๋ย
การป้องกันและกำจัดศัตรูอัญชัน
การเก็บเกี่ยว
ที่มา:
ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร
ภาพ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พพืชขอนแก่น กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร