วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ทีมห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ศวม.ขอนแก่นได้ส่งมอบต้นกล้าสับปะรดพันธุ์ กวก.เพชรบุรี 2 ระยะออกรากให้ ศวพ.เพชรบุรี (ครั้งที่ 1) จำนวน 10,500 ต้น ผ่านทางไปรษณีย์จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ ศวม.ขอนแก่น มีเป้าหมายการขยายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ กวก.เพชรบุรี 2 จำนวน 70,000 ต้น ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นกล้าในระบบไบโอรีแอคเตอร์ (TIBs)
กระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นกล้าในระบบไบโอรีแอคเตอร์ (TIBs) เป็นประบวนการขยายพันธุ์พืชแบบรวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาดำเนินการขยายพันธุ์พืช ได้อย่างรวดเร็วลดระยะเวลาได้อย่างน้อยร้อยละ 50 จากระยะเวลาดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยวิธีปกติ
กระบวนการบรรจุหีบห่อ ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และทดลองเคลื่อนย้าย โดยลดความเสี่ยงในการที่ต้นกล้าได้รับการประทบกระเทือน สู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งในการขนย้ายครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับการจำหน่าย ขนย้ายพันธู์พืชของหน่วยงานอีกด้วย