การใช้สารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน
#1
การใช้สารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน
ธารทิพย ภาสบุตร, ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารไคโตซานต่อการเจริญของเส้นใยรา Ganoderma sp. สาเหตุโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันด้วยวิธี poisoned food พบว่า อาหาร PDA ผสมสารไคโตซานที่ความเข้มข้น 1000 5000 10000 50000 และ 100000 ppm. มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยรา 0.12 1.41 1.88 21.15 และ 35.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion พบว่า สารไคโตซานทุกความเข้มข้นที่ใช้ ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยรา Ganoderma sp. ได้ โดยไม่พบบริเวณการยับยั้งรอบกระดาษกรองที่หยดสารไคโตซาน จากนั้นได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารไคโตซานในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้า วางแผนการทดลองแบบ RCB 7 กรรมวิธี 5 ซ้ำ พบว่า กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อและรดด้วยสารไคโตซานที่โคนต้นอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (อัตราแนะนำที่ฉลาก) ทุก 10 15 20 และ 25 วัน มีเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรค 46.67 39.98 53.33 53.33 เปอร์เซ็นต์ มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 1.60 1.60 2.07 2.13 และมีค่าดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 40.00 39.99 51.66 53.33 ตามลำดับ ซึ่งค่าระดับการเกิดโรคและค่าดัชนีความรุนแรงของโรคที่ได้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ปลูกเชื้อแต่ไม่รดสารไคโตซานที่มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 2.87 ดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 69.44 และเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรค 80 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   1585_2553.pdf (ขนาด: 150.06 KB / ดาวน์โหลด: 2,023)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม