12-23-2015, 03:11 PM
วิจัยและพัฒนาการผลิตฟ้าทะลายโจรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ
จรัญ ดิษฐไชยวงศ์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, มัลลิกา แสงเพชร, สัจจะ ประสงค์ทรัพย์, จินดา สุภาผล, แสงมณี ชิงดวง, ไกรศร ตาวงศ์, สมพร วนะสิทธิ์, เตือนใจ พุดซัง, พุฒนา รุ่งระวี และวาสนา โตเลี้ยง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, สถาบันวิจัยพืชสวน, กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติงานวิจัยเกษตร กองแผนงานและวิชาการ และสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จรัญ ดิษฐไชยวงศ์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, มัลลิกา แสงเพชร, สัจจะ ประสงค์ทรัพย์, จินดา สุภาผล, แสงมณี ชิงดวง, ไกรศร ตาวงศ์, สมพร วนะสิทธิ์, เตือนใจ พุดซัง, พุฒนา รุ่งระวี และวาสนา โตเลี้ยง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, สถาบันวิจัยพืชสวน, กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติงานวิจัยเกษตร กองแผนงานและวิชาการ และสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฟ้าทะลายโจรให้คุณภาพวัตถุดิบไม่สม่ำเสมอซึ่งคุณภาพวัตถุดิบขึ้นอยู่กับปริมาณสารสำคัญประเภทแลคโตน (lactone) มาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกำหนดให้มีปริมาณแลคโตนรวมไม่น้อยกว่า 6 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม การวิจัยและพัฒนาการผลิตฟ้าทะลายโจรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มแนวโน้มการสกัดสารสำคัญเพื่อใช้เป็นยา ทั้งนี้ส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญใช้เป็นยาแก้ไข แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย การปลูกฟ้าทะลายโจรแบบย้ายกล้าพบว่า ระยะปลูก 30 x 40 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดสูงสุด 3,070 กิโลกรัม/ไร่ ให้น้ำหนักแห้งสูงสุด 776.6 กิโลกรัม/ไร่ และระยะปลูก 30 x 60 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดต่ำสุด 2,372 กิโลกรัม/ไร่ ให้น้ำหนักแห้งต่ำสุด 633.7 กิโลกรัม/ไร่ ระยะปลูก 30 x 60 เซนติเมตร ให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงสุด 6.98 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม แตกต่างกันทางสถิติกับระยะปลูก 30 x 30 และ 30 x 40 เซนติเมตร ซึ่งให้สารแอนโดรกราโฟไลด์รองลงมาคือ 4.83 และ 3.79 % ตามลำดับ พื้นที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของฟ้าทะลายโจรไม่ควรน้อยกว่า 5.76 ตารางเมตร เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากไม่จำกัดรูปร่าง การให้น้ำฟ้าทะลายโจร 80% ของค่าการระเหยสะสม ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตสูงสุด และปริมาณสารแลคโตนรวมได้มาตรฐาน ปลูกแบบพรางแสงให้ผลผลิตลดลง 50% แตกต่างกันทางสถิติกับปลูกแบบไม่พรางแสง เก็บเกี่ยวผลผลิตแบบแยกส่วนพบว่า ผลผลิตจากส่วนยอดยาว 25 เซนติเมตร ระยะออกดอก 25-50 % ให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์สูงสุดในแต่ละปี ผลผลิตมีความสัมพันธ์ด้านบวกกับปริมาณน้ำ ความยาวนานแสงแดด และอุณหภูมิกลางคืน และปริมาณสารสำคัญมีความผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม