ศึกษาความใช้ได้ของชุดตรวจสอบพิษตกค้างของโพรเฟนโนฟอสในผักผลไม้
#1
ศึกษาความใช้ได้ของชุดตรวจสอบพิษตกค้างของโพรเฟนโนฟอสในผักผลไม้
อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาความใช้ได้ของชุดตรวจสอบพิษตกค้างของโพรเฟนโนฟอสในผักผลไม้โดยนำชุดตรวจสอบที่คิดค้นมาในปี 2552 มาหาอายุการใช้งานและแผ่นตรวจสอบที่ความเข้มข้น 0.05 ppm พบว่า ที่อายุ 2 เดือน ได้ %recovery 85.80% ที่อายุ 4 เดือน ได้ %recovery 85.30% ที่อายุ 6 เดือน ได้ %recovery 84.20% ที่อายุ 8 เดือน ได้ %recovery 83.10% ที่อายุ 10 เดือน ได้ %recovery 84.60% ที่อายุ 12 เดือน ได้ %recovery 83.50% และได้ทดลองหาค่า linearity range โดยกาารนำมาวัดการดูดกลืนแสง UV ที่ช่วงคลื่น 285 nm. โดยใช้เครื่อง HPLC ได้ค่า linearity range อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.01-0.1 ppm ค่า R = 0.9839 เมื่อนำมาหาค่า Precision ที่ความเข้มข้น 0.03, 0.04, 0.06, 0.08 ppm มีค่า n=10 ได้ค่า SD = 7.4423, %RSD = 2.6473, HR = 0.2091 (0.03 ppm) ได้ค่า SD = 9.7665, %RSD = 2.5685, HR = 0.2119 (0.04 ppm) ได้ค่า SD = 13.9607, %RSD = 2.1601, HR = 0.1894 (0.06 ppm) ได้ค่า SD = 20.6355, %RSD = 2.1658, HR = 0.2395 (0.08 ppm) ได้ค่า SD = 30.6649, %RSD = 3.2673, HR = 0.3074 (0.10 ppm) เห็นได้ว่าค่า HR ตั้งแต่ความเข้มข้น 0.03-0.10 ppm สามารถเชื่อถือได้ในการนำไปทดสอบในภาคสนาม เนื่องจากมีค่า HR น้อยกว่า 2 และเมื่อนำไปให้เกษตรกรใช้ตรวจในแปลงปลูกพริก จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น และกาญจนบุรี พบว่า ผู้นำกลุ่มเกษตรกรสามารถตรวจพบสารโพรเฟนโนฟอสในพริกร้อยละ 15 และตัวอย่างพริกที่ตรวจไม่พบด้วยชุดตรวจสอบนำมายืนยันด้วย GC (FPD) ในห้องปฏิบัติการพบว่า ปริมาณที่พบน้อยกว่า 0.03 ppm


ไฟล์แนบ
.pdf   1917_2553.pdf (ขนาด: 905.25 KB / ดาวน์โหลด: 477)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม