การปรับปรุงคุณภาพหน่อไม้ฝรั่งในช่วงฤดูร้อน
#1
การปรับปรุงคุณภาพหน่อไม้ฝรั่งในช่วงฤดูร้อน
อุชฎา สุขจันทร์, อรัญญ์ ขันติยวิชย์, ดิเรก นรานาฏกรณ์ และอุบล หินเธาว์
ศูนย์วิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          การปรับปรุงคุณภาพหน่อไม้ฝรั่งในช่วงฤดูร้อน ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จังหวัดขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB โดยมี Main Plot คือ ระบบการให้น้ำ ได้แก่ ระบบน้ำหยด มินิสปริงเกอร์ และสายยางติดหัวฝักบัว Sub plot คือ การใช้วัสดุคลุมดินประกอบด้วย การคลุมดินด้วยฟางข้าว ขี้เลื่อย แกลบดิบ แกลบเผา ในอัตราที่เท่ากัน ผลการทดลองพบว่า ระบบการให้น้ำทั้ง 3 ระบบคือ ระบบน้ำหยด ระบบมินิสปริงเกอร์ และระบบสายยางติดหังฝักบัว ไม่มีอิทธิพลต่อการให้น้ำหนักต่อหน่อ (8.44 9.21 และ 9.24 กรัม) เปอร์เซ็นต์หน่อดี (26.67 27.97 และ 25.53) จำนวนหน่อต่อไร่ (12,525 19,892 และ 12,525 หน่อ) ผลผลิตรวมของหน่อไม้ฝรั่ง และผลผลอเฉลี่ยต่อครั้ง (104.25:3.32 190.33:6.02 และ 143.67:4.58 กก./ไร่) แต่การใช้วัสดุคลุมดินมีอิทธิพลต่อการให้ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปลายฤดูหนาวถึงฤดูร้อน โดยพบว่าการคลุมดินด้วยฟางข้าวให้น้ำหนักหน่อเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์หน่อดี จำนวนหน่อต่อไร่สูงสุด (9.96 กรัม และ 30.16% และ 19,934 หน่อ) จึงมีผลให้ผลผลิตรวมของหน่อไม้ฝรั่ง และผลผลิตเฉลี่ยต่อครั้ง ตำรับที่มีการคลุมดินด้วยฟางข้าวให้ผลผลิตสูงสุด (206.89 และ 6.55 กก./ไร่) และแตกต่างกับการคลุมด้วยแกลบดิบ ขี้เลื่อย และแกลบเผา (141.78:4.51 126.44:4.06 และ 109.22:3.45 กก./ไร่ ตามลำดับ) ดังนั้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพการใช้หน่อช่วงฤดูร้อนควรใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดิน และให้น้ำวิธีใดก้ได้ แต่ระบบมินิสปริงเกอร์มีแนวโน้มดีที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   1966_2553.pdf (ขนาด: 1.69 MB / ดาวน์โหลด: 2,195)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม